07 May 2013

ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเกาหลีใต้ (Korean Wave) กับเกาหลีเหนือ

Public domain This work has been released into the public domain by its author,  nmd dot kim (not dot com, but dot kim). This applies worldwide.
In some countries this may not be legally possible; if so:  nmd dot kim (not dot com, but dot kim) grants anyone the right to use this work for any purpose, without any conditions, unless such conditions are required by law.
Kopimi k.svg This work is labeled as Kopimi, meaning that the copyright holder of this work specifically requests that this work be used and copied for any purpose, including unlimited commercial use and redistribution. It is believed in good faith that a work classified as Kopimi is free to use in any way, including modification and the creation of derivative works.

English | فارسی | français | മലയാളം | português | slovenščina | svenska | 中文(简体)‎ | +/−
.
.
.
.
 
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ภาคภาษาไทย อธิบายว่า กระแสเกาหลี หรือ Korean Wave หมายถึง การแพร่ของวัฒนธรรมเกาหลีใต้ไปทั่วโลก

ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ธุรกิจเกาหลีใต้บางส่วนหันมาเน้นธุรกิจบันเทิงมากขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 (1997 Asian financial crisis) หรือ วิกฤติต้มยำกุ้ง ซึ่งเกาหลีใต้ได้รับผลกระทบด้วย

กระแสเกาหลีใต้นี้ รัฐบาลเกาหลีใต้สนับสนุนอย่างเต็มที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการยอมรับเกาหลีใต้ และความนิยมเกาหลีใต้ ไปในระดับสากล (ต่อมาก็มีกระแสตีกลับหรือกระแสต่อต้านบ้าง เนื่องจากบางครั้งก็ซ้ำซากจำเจ หรือกิมจิฟีเวอร์มากเกินไป) และเพื่อการค้า นำเงินตราเข้าสู่ประเทศ สร้างประเทศให้เจริญรุ่งเรือง (ล้ำหน้าเกาหลีเหนือมากขึ้นเรื่อยๆ)

และอีกวัตถุประสงค์หนึ่งคือ เกาหลีใต้ใช้กระแสนี้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการเอาชนะเกาหลีเหนือ แล้วรวมชาติเกาหลีอย่างสันติ แต่ยังไม่ได้ผลมากนัก เนื่องจากเกาหลีเหนือปิดกั้นสื่อเป็นอย่างมาก (ประชาชนเกาหลีเหนือไม่สามารถแสดงความชื่นชอบหรือชื่นชมสิ่งต่างๆ ที่เป็นของเกาหลีใต้อย่างออกนอกหน้าได้ เพราะจะถูกมองว่าไม่เหมาะสม และจะถูกลงโทษ อย่างไรก็ตาม คนก็แอบเล่าแอบบอกต่อกันปากต่อปาก ภายในครอบครัว และในกลุ่มเพื่อนสนิท และแอบส่งต่อเพลงหรือหนัง ให้แอบดูแอบฟังกันต่อไปเป็นทอดๆ หรือแอบซื้อขายแผ่นหนังกัน)

จากคำบอกเล่าของผู้ที่อพยพหลบหนีออกมาจากเกาหลีเหนือหลายคน กล่าวตรงกันว่า มีการลักลอบฟังเพลง ดูละคร หรือภาพยนตร์ ของเกาหลีใต้ (เครื่องเล่นแผ่นภาพยนตร์ไม่เป็นสิ่งผิดกฎหมาย และมีแผ่นภาพยนตร์หลายเรื่องที่ทางการอนุญาตให้เปิดชมได้) ซึ่งการรับชมรับฟังสื่อของเกาหลีใต้นั้นผิดกฎหมายเกาหลีเหนือ และหากถูกจับได้ จะได้รับโทษที่รุนแรง เช่น ต้องตกเป็นทาสแรงงาน ต้องถูกล้างสมองใหม่ ในค่ายกักกัน เป็นต้น

ในเขตเมืองที่อยู่ใกล้เกาหลีใต้ มีการลักลอบดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุของเกาหลีใต้ด้วย โดยต้องดัดแปลงอุปกรณ์ให้สามารถปรับคลื่นไปรับชมรับฟังได้ หรือมีอุปกรณ์ที่ผิดกฎหมาย (วิทยุและโทรทัศน์ที่ถูกกฎหมายเกาหลีเหนือ ทางการจะมีระบบหรืออุปกรณ์ล็อกไว้ ทำให้ดูหรือฟังได้แต่คลื่นของทางการ) ซึ่งผิดกฎหมายและมีโทษรุนแรงเช่นกัน บางครั้งทางเกาหลีเหนืออาจสร้างคลื่นรบกวนบ้าง เพื่อกีดกันการรับชมรับฟัง แต่ก็ยังมีน้อย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพลังงานไฟฟ้ามีอยู่จำกัด

ส่วนเขตเมืองที่อยู่ใกล้จีนมีการลักลอบดูโทรทัศน์จีน ซึ่งผิดกฎหมายและโทษรุนแรงอีกเช่นกัน อีกทั้งชาวจีน นักท่องเที่ยวต่างชาติ และคนเกาหลีเหนือบางคน ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าออกพรมแดน บางคน ได้ลักลอบนำแผ่นหนังเกาหลีใต้เข้าไปในประเทศ หรือลักลอบนำเข้าอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ ที่เล็กกว่า ตรวจจับได้ยากกว่า โดยแอบใส่ข้อมูลบันเทิงของเกาหลีใต้ลงไป (คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กไม่เป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่อาจหาซื้อได้ยาก รวมถึงพลังงานไฟฟ้ามีจำกัด บางช่วงเวลาอาจไฟฟ้าตกหรือไฟฟ้าดับ)

นอกเหนือจากภาพที่ปรากฎในแผ่นหนัง และปรากฎในช่องของเกาหลีใต้แล้ว ในบางครั้งโทรทัศน์จีนอาจฉายละครเกาหลีใต้ด้วย ผู้ที่แอบดูละครหรือแอบดูช่องเกาหลีใต้จะได้เห็นภาพบรรยากาศของเกาหลีใต้ ที่เกาหลีเหนือไม่เคยนำเสนอ แม้ว่าในกรณีที่เป็นหนังหรือละครจะทำให้ภาพเหล่านั้นดูดีเกินจริงไปบ้าง แต่บางคนก็คิดได้ว่า ถ้าไม่มีภาพส่วนใดส่วนหนึ่งที่เป็นภาพจริงของเกาหลีใต้ ทางการเกาหลีเหนือจะปิดบังหรือห้ามไม่ให้ดูทำไม

 
จากภาพ แสดงถึงกระแสเกาหลีใต้ที่เข้าไปในเกาหลีเหนือ
จะแพร่เข้าไปทางจีนเป็นส่วนใหญ่
โดยลักลอบนำแผ่นหรือไฟล์ข้ามเข้าไป
ส่วนพรมแดนระหว่างสองเกาหลีนั้นถูกปิดตายมาโดยตลอด
จึงข้ามไปได้เพียงคลื่นสัญญาณโทรทัศน์และวิทยุเท่านั้น

ข้อมูลเพลงและหนัง ทำให้พวกเขาได้ยินได้เห็นสิ่งแปลกๆใหม่ๆ ที่แปลกหูแปลกตา ไม่เคยได้ยินได้เห็นมาก่อนในเกาหลีเหนือ ส่วนข้อมูลที่เป็นคลื่นวิทยุและคลื่นโทรทัศน์โดยตรง เช่น รายการข่าว รายการสารคดี จะทำให้หูตาสว่างได้ดีกว่า เพราะมีมูลความจริงมากกว่า (มีบางรายการวิทยุ ที่จัดโดยอดีตชาวเกาหลีเหนือ เพื่อแฉข้อมูลอีกด้านหนึ่งโดยตรง โดยจัดรายการกับคลื่นที่อยู่ใกล้กับพรมแดน และหวังว่าจะมีคนเกาหลีเหนือได้รับฟัง)

ผู้อพยพที่หลบหนีมาได้บางคนถึงกับกล่าวว่าละครหรือภาพยนตร์เหล่านี้ทำให้อยากอพยพออกมา บางคนก็กล่าวว่าที่นั่นไม่มีเสรีภาพ เช่น ขาดเสรีภาพด้านสื่อ ขาดเสรีภาพทางการแต่งกาย เป็นต้น แล้วรู้ว่าที่อื่นมี จึงอพยพออกมา

คาดว่าหลายคนในเกาหลีเหนือเริ่มรู้ทันแล้ว แต่ไม่กล้าอพยพ เพราะกลัวจะไม่รอด และหากทางการทราบว่าตนหายไปจากเกาหลีเหนือ ญาติพี่น้องอาจถูกลงโทษแทน มีผู้อพยพออกมาได้บางคนกล่าวว่ามีเจ้าหน้าที่ระดับสูงบางคนก็เคยแอบดูแอบฟังสื่อเกาหลีใต้เช่นกัน บางคนแอบทำทุกวัน หรือบางคนแอบทำอาทิตย์ละครั้ง

ผู้อพยพออกมาได้มีทั้งที่แปรพักตร์ไปถึงเกาหลีใต้ได้สำเร็จ, อพยพไปอยู่ประเทศที่สามได้สำเร็จ (บางคนได้รับสัญชาติอเมริกาหรือสัญชาติอื่นสำเร็จ) และบางส่วนยังต้องหลบซ่อนตัวอยู่ในจีน รัสเซีย หรือประเทศอื่นๆ โดยเกรงว่าหากถูกจับได้อาจถูกส่งตัวกลับไปให้เกาหลีเหนือลงโทษ

มีผู้แปรพักตร์ส่วนน้อย ที่เมื่อมาอยู่ในเกาหลีใต้แล้วสักพักหนึ่งพบว่าปรับตัวเข้ากับระบบใหม่นี้ไม่ได้ (เช่น มีรูปแบบวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน มีรูปแบบการเมืองการปกครองที่ต่างกัน มีรูปแบบเศรษฐกิจที่ต่างกัน มีถ้อยคำในภาษาและสำเนียงการพูด ที่แตกต่างกันเล็กน้อย เป็นต้น) จึงหวนกลับไปเกาหลีเหนืออีก ทั้งๆ ที่เมื่อกลับไปแล้วอาจถูกลงโทษได้ ผู้แปรพักตร์ส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะอดทนและปรับตัวให้ได้

.

แหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ในบทความ

แปลเนื้อหาบางส่วนมาจาก บทความ "Korean Wave" From Wikipedia, the free encyclopedia http://en.wikipedia.org/wiki/Korean_wave (แหล่งอ้างอิงอื่นๆ ตามที่ระบุไว้ในวิกิพีเดีย) 

และข้อมูลบางส่วนจากเอกสาร A Quiet Opening: North Koreans in a Changing Media Environment เขียนโดย Nat Kretchun และ Jane Kim http://audiencescapes.org/sites/default/files/A_Quiet_Opening_FINAL_InterMedia.pdf

ภาพประกอบ

Flow of the Korean Wave across the North Korean border http://en.wikipedia.org/wiki/File:Flow_of_the_Korean_Wave_across_the_North_Korean_border.png

The copyright holder of that picture, hereby publish it under the following license:

w:en:Creative Commons
attribution share alike
This file is licensed under the Creative Commons Attribution-Share Alike 3.0 Unported license.

You are free:
  • to share – to copy, distribute and transmit the work
  • to remix – to adapt the work
Under the following conditions:
  • attribution – You must attribute the work in the manner specified by the author or licensor (but not in any way that suggests that they endorse you or your use of the work).
  • share alike – If you alter, transform, or build upon this work, you may distribute the resulting work only under the same or similar license to this one.


.
.
.
Public domain This Thai-language article has been released into the public domain by its author,  nmd dot kim (not dot com, but dot kim). This applies worldwide.
In some countries this may not be legally possible; if so:  nmd dot kim (not dot com, but dot kim) grants anyone the right to use this work for any purpose, without any conditions, unless such conditions are required by law.
Kopimi k.svg This Thai-language article is labeled as Kopimi, meaning that the copyright holder of this work specifically requests that this work be used and copied for any purpose, including unlimited commercial use and redistribution. It is believed in good faith that a work classified as Kopimi is free to use in any way, including modification and the creation of derivative works.

English | فارسی | français | മലയാളം | português | slovenščina | svenska | 中文(简体)‎ | +/−
.