07 May 2013

ความสัมพันธ์ระหว่างกระแสเกาหลีใต้ (Korean Wave) กับเกาหลีเหนือ

Public domain This work has been released into the public domain by its author,  nmd dot kim (not dot com, but dot kim). This applies worldwide.
In some countries this may not be legally possible; if so:  nmd dot kim (not dot com, but dot kim) grants anyone the right to use this work for any purpose, without any conditions, unless such conditions are required by law.
Kopimi k.svg This work is labeled as Kopimi, meaning that the copyright holder of this work specifically requests that this work be used and copied for any purpose, including unlimited commercial use and redistribution. It is believed in good faith that a work classified as Kopimi is free to use in any way, including modification and the creation of derivative works.

English | فارسی | français | മലയാളം | português | slovenščina | svenska | 中文(简体)‎ | +/−
.
.
.
.
 
วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ภาคภาษาไทย อธิบายว่า กระแสเกาหลี หรือ Korean Wave หมายถึง การแพร่ของวัฒนธรรมเกาหลีใต้ไปทั่วโลก

ตั้งแต่ พ.ศ. 2540 เป็นต้นมา ธุรกิจเกาหลีใต้บางส่วนหันมาเน้นธุรกิจบันเทิงมากขึ้น ส่วนหนึ่งเกิดจากวิกฤตการณ์การเงินในเอเชีย พ.ศ. 2540 (1997 Asian financial crisis) หรือ วิกฤติต้มยำกุ้ง ซึ่งเกาหลีใต้ได้รับผลกระทบด้วย

กระแสเกาหลีใต้นี้ รัฐบาลเกาหลีใต้สนับสนุนอย่างเต็มที่ มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างการยอมรับเกาหลีใต้ และความนิยมเกาหลีใต้ ไปในระดับสากล (ต่อมาก็มีกระแสตีกลับหรือกระแสต่อต้านบ้าง เนื่องจากบางครั้งก็ซ้ำซากจำเจ หรือกิมจิฟีเวอร์มากเกินไป) และเพื่อการค้า นำเงินตราเข้าสู่ประเทศ สร้างประเทศให้เจริญรุ่งเรือง (ล้ำหน้าเกาหลีเหนือมากขึ้นเรื่อยๆ)

และอีกวัตถุประสงค์หนึ่งคือ เกาหลีใต้ใช้กระแสนี้เป็นเครื่องมือหนึ่งในการเอาชนะเกาหลีเหนือ แล้วรวมชาติเกาหลีอย่างสันติ แต่ยังไม่ได้ผลมากนัก เนื่องจากเกาหลีเหนือปิดกั้นสื่อเป็นอย่างมาก (ประชาชนเกาหลีเหนือไม่สามารถแสดงความชื่นชอบหรือชื่นชมสิ่งต่างๆ ที่เป็นของเกาหลีใต้อย่างออกนอกหน้าได้ เพราะจะถูกมองว่าไม่เหมาะสม และจะถูกลงโทษ อย่างไรก็ตาม คนก็แอบเล่าแอบบอกต่อกันปากต่อปาก ภายในครอบครัว และในกลุ่มเพื่อนสนิท และแอบส่งต่อเพลงหรือหนัง ให้แอบดูแอบฟังกันต่อไปเป็นทอดๆ หรือแอบซื้อขายแผ่นหนังกัน)

จากคำบอกเล่าของผู้ที่อพยพหลบหนีออกมาจากเกาหลีเหนือหลายคน กล่าวตรงกันว่า มีการลักลอบฟังเพลง ดูละคร หรือภาพยนตร์ ของเกาหลีใต้ (เครื่องเล่นแผ่นภาพยนตร์ไม่เป็นสิ่งผิดกฎหมาย และมีแผ่นภาพยนตร์หลายเรื่องที่ทางการอนุญาตให้เปิดชมได้) ซึ่งการรับชมรับฟังสื่อของเกาหลีใต้นั้นผิดกฎหมายเกาหลีเหนือ และหากถูกจับได้ จะได้รับโทษที่รุนแรง เช่น ต้องตกเป็นทาสแรงงาน ต้องถูกล้างสมองใหม่ ในค่ายกักกัน เป็นต้น

ในเขตเมืองที่อยู่ใกล้เกาหลีใต้ มีการลักลอบดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุของเกาหลีใต้ด้วย โดยต้องดัดแปลงอุปกรณ์ให้สามารถปรับคลื่นไปรับชมรับฟังได้ หรือมีอุปกรณ์ที่ผิดกฎหมาย (วิทยุและโทรทัศน์ที่ถูกกฎหมายเกาหลีเหนือ ทางการจะมีระบบหรืออุปกรณ์ล็อกไว้ ทำให้ดูหรือฟังได้แต่คลื่นของทางการ) ซึ่งผิดกฎหมายและมีโทษรุนแรงเช่นกัน บางครั้งทางเกาหลีเหนืออาจสร้างคลื่นรบกวนบ้าง เพื่อกีดกันการรับชมรับฟัง แต่ก็ยังมีน้อย ส่วนหนึ่งเป็นเพราะพลังงานไฟฟ้ามีอยู่จำกัด

ส่วนเขตเมืองที่อยู่ใกล้จีนมีการลักลอบดูโทรทัศน์จีน ซึ่งผิดกฎหมายและโทษรุนแรงอีกเช่นกัน อีกทั้งชาวจีน นักท่องเที่ยวต่างชาติ และคนเกาหลีเหนือบางคน ที่ได้รับอนุญาตให้เข้าออกพรมแดน บางคน ได้ลักลอบนำแผ่นหนังเกาหลีใต้เข้าไปในประเทศ หรือลักลอบนำเข้าอุปกรณ์เก็บข้อมูลชนิดอื่นๆ ที่เล็กกว่า ตรวจจับได้ยากกว่า โดยแอบใส่ข้อมูลบันเทิงของเกาหลีใต้ลงไป (คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กไม่เป็นสิ่งผิดกฎหมาย แต่อาจหาซื้อได้ยาก รวมถึงพลังงานไฟฟ้ามีจำกัด บางช่วงเวลาอาจไฟฟ้าตกหรือไฟฟ้าดับ)

นอกเหนือจากภาพที่ปรากฎในแผ่นหนัง และปรากฎในช่องของเกาหลีใต้แล้ว ในบางครั้งโทรทัศน์จีนอาจฉายละครเกาหลีใต้ด้วย ผู้ที่แอบดูละครหรือแอบดูช่องเกาหลีใต้จะได้เห็นภาพบรรยากาศของเกาหลีใต้ ที่เกาหลีเหนือไม่เคยนำเสนอ แม้ว่าในกรณีที่เป็นหนังหรือละครจะทำให้ภาพเหล่านั้นดูดีเกินจริงไปบ้าง แต่บางคนก็คิดได้ว่า ถ้าไม่มีภาพส่วนใดส่วนหนึ่งที่เป็นภาพจริงของเกาหลีใต้ ทางการเกาหลีเหนือจะปิดบังหรือห้ามไม่ให้ดูทำไม

 
จากภาพ แสดงถึงกระแสเกาหลีใต้ที่เข้าไปในเกาหลีเหนือ
จะแพร่เข้าไปทางจีนเป็นส่วนใหญ่
โดยลักลอบนำแผ่นหรือไฟล์ข้ามเข้าไป
ส่วนพรมแดนระหว่างสองเกาหลีนั้นถูกปิดตายมาโดยตลอด
จึงข้ามไปได้เพียงคลื่นสัญญาณโทรทัศน์และวิทยุเท่านั้น

ข้อมูลเพลงและหนัง ทำให้พวกเขาได้ยินได้เห็นสิ่งแปลกๆใหม่ๆ ที่แปลกหูแปลกตา ไม่เคยได้ยินได้เห็นมาก่อนในเกาหลีเหนือ ส่วนข้อมูลที่เป็นคลื่นวิทยุและคลื่นโทรทัศน์โดยตรง เช่น รายการข่าว รายการสารคดี จะทำให้หูตาสว่างได้ดีกว่า เพราะมีมูลความจริงมากกว่า (มีบางรายการวิทยุ ที่จัดโดยอดีตชาวเกาหลีเหนือ เพื่อแฉข้อมูลอีกด้านหนึ่งโดยตรง โดยจัดรายการกับคลื่นที่อยู่ใกล้กับพรมแดน และหวังว่าจะมีคนเกาหลีเหนือได้รับฟัง)

ผู้อพยพที่หลบหนีมาได้บางคนถึงกับกล่าวว่าละครหรือภาพยนตร์เหล่านี้ทำให้อยากอพยพออกมา บางคนก็กล่าวว่าที่นั่นไม่มีเสรีภาพ เช่น ขาดเสรีภาพด้านสื่อ ขาดเสรีภาพทางการแต่งกาย เป็นต้น แล้วรู้ว่าที่อื่นมี จึงอพยพออกมา

คาดว่าหลายคนในเกาหลีเหนือเริ่มรู้ทันแล้ว แต่ไม่กล้าอพยพ เพราะกลัวจะไม่รอด และหากทางการทราบว่าตนหายไปจากเกาหลีเหนือ ญาติพี่น้องอาจถูกลงโทษแทน มีผู้อพยพออกมาได้บางคนกล่าวว่ามีเจ้าหน้าที่ระดับสูงบางคนก็เคยแอบดูแอบฟังสื่อเกาหลีใต้เช่นกัน บางคนแอบทำทุกวัน หรือบางคนแอบทำอาทิตย์ละครั้ง

ผู้อพยพออกมาได้มีทั้งที่แปรพักตร์ไปถึงเกาหลีใต้ได้สำเร็จ, อพยพไปอยู่ประเทศที่สามได้สำเร็จ (บางคนได้รับสัญชาติอเมริกาหรือสัญชาติอื่นสำเร็จ) และบางส่วนยังต้องหลบซ่อนตัวอยู่ในจีน รัสเซีย หรือประเทศอื่นๆ โดยเกรงว่าหากถูกจับได้อาจถูกส่งตัวกลับไปให้เกาหลีเหนือลงโทษ

มีผู้แปรพักตร์ส่วนน้อย ที่เมื่อมาอยู่ในเกาหลีใต้แล้วสักพักหนึ่งพบว่าปรับตัวเข้ากับระบบใหม่นี้ไม่ได้ (เช่น มีรูปแบบวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน มีรูปแบบการเมืองการปกครองที่ต่างกัน มีรูปแบบเศรษฐกิจที่ต่างกัน มีถ้อยคำในภาษาและสำเนียงการพูด ที่แตกต่างกันเล็กน้อย เป็นต้น) จึงหวนกลับไปเกาหลีเหนืออีก ทั้งๆ ที่เมื่อกลับไปแล้วอาจถูกลงโทษได้ ผู้แปรพักตร์ส่วนใหญ่จึงเลือกที่จะอดทนและปรับตัวให้ได้

.

แหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ในบทความ

แปลเนื้อหาบางส่วนมาจาก บทความ "Korean Wave" From Wikipedia, the free encyclopedia http://en.wikipedia.org/wiki/Korean_wave (แหล่งอ้างอิงอื่นๆ ตามที่ระบุไว้ในวิกิพีเดีย) 

และข้อมูลบางส่วนจากเอกสาร A Quiet Opening: North Koreans in a Changing Media Environment เขียนโดย Nat Kretchun และ Jane Kim http://audiencescapes.org/sites/default/files/A_Quiet_Opening_FINAL_InterMedia.pdf

ภาพประกอบ

Flow of the Korean Wave across the North Korean border http://en.wikipedia.org/wiki/File:Flow_of_the_Korean_Wave_across_the_North_Korean_border.png

The copyright holder of that picture, hereby publish it under the following license:

w:en:Creative Commons
attribution share alike
This file is licensed under the Creative Commons Attribution-Share Alike 3.0 Unported license.

You are free:
  • to share – to copy, distribute and transmit the work
  • to remix – to adapt the work
Under the following conditions:
  • attribution – You must attribute the work in the manner specified by the author or licensor (but not in any way that suggests that they endorse you or your use of the work).
  • share alike – If you alter, transform, or build upon this work, you may distribute the resulting work only under the same or similar license to this one.


.
.
.
Public domain This Thai-language article has been released into the public domain by its author,  nmd dot kim (not dot com, but dot kim). This applies worldwide.
In some countries this may not be legally possible; if so:  nmd dot kim (not dot com, but dot kim) grants anyone the right to use this work for any purpose, without any conditions, unless such conditions are required by law.
Kopimi k.svg This Thai-language article is labeled as Kopimi, meaning that the copyright holder of this work specifically requests that this work be used and copied for any purpose, including unlimited commercial use and redistribution. It is believed in good faith that a work classified as Kopimi is free to use in any way, including modification and the creation of derivative works.

English | فارسی | français | മലയാളം | português | slovenščina | svenska | 中文(简体)‎ | +/−
.

28 April 2013

ทำบล็อกอย่างไรไม่ให้มีคน search เจอ

Public domain This work has been released into the public domain by its author,  nmd dot kim (not dot com, but dot kim). This applies worldwide.
In some countries this may not be legally possible; if so:  nmd dot kim (not dot com, but dot kim) grants anyone the right to use this work for any purpose, without any conditions, unless such conditions are required by law.
Kopimi k.svg This work is labeled as Kopimi, meaning that the copyright holder of this work specifically requests that this work be used and copied for any purpose, including unlimited commercial use and redistribution. It is believed in good faith that a work classified as Kopimi is free to use in any way, including modification and the creation of derivative works.

English | فارسی | français | മലയാളം | português | slovenščina | svenska | 中文(简体)‎ | +/−
.
.
.
 
บล็อกทุกบล็อกที่นิสิตสร้างขึ้นเพื่อเป็นงานในรายวิชา 0026008 การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน นั้น ล้วนแต่อยู่ในอินเทอร์เน็ตทั้งสิ้น

แต่ผลงานบล็อกของนิสิตบางคนกลับไม่มีปรากฎใน Google เลย เราได้ค้นหาด้วยคำว่า "0026008" หรือคำว่า "0026 008" (มีเว้นวรรค) หรือค้นหาด้วยชื่อวิชา ก็พบแต่ผลงานบล็อกของนิสิตบางคนเท่านั้น เป็นไปได้ว่าการสร้างบล็อกของเขานั้นไม่ได้ระบุรหัสวิชาและชื่อวิชาลงไปในบล็อกด้วยนั่นเอง

นอกจากนั้นเมื่อค้นหาด้วยชื่อของเขาหรือเธอ หรือค้นหาด้วยรหัสนิสิต ก็ไม่พบอีกเช่นกัน เป็นไปได้ว่าเขาไม่ได้ใส่ชื่อและรหัสนิสิตของตนลงไปในบล็อกอีกด้วย ซึ่งอาจเป็นเพราะต้องการความเป็นส่วนตัว จึงสร้างบล็อกแบบนิรนาม นอกเหนือจากตัวเขาเองแล้วอาจจะมีเพียงอาจารย์ผู้สอนเท่านั้นที่รู้ URL ของบล็อกดังกล่าว เพื่อให้สามารถเข้าไปตรวจและให้คะแนนได้



สำหรับผู้ที่ใช้ระบบบล็อกของ Blogger นั้นยังมีอีกวิธีหนึ่งที่อาจจะได้ผล ทั้งนี้ เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด ควรเลือกตัวเลือกนี้ตั้งแต่ตอนที่เปิดใช้งานบล็อกขึ้นมาได้ใหม่ๆ เลย (ก่อนที่จะเริ่มดัดแปลงหน้าบล็อก และก่อนเริ่มลงบทความแรก)

วิธีนี้ต้องไปตั้งค่าในเมนูของ Blogger


คลิกเข้าไปที่ "การออกแบบ" เพื่อเข้าเมนูตัวเลือกของ Blogger


คลิกเลือก "การตั้งค่า"

คลิกเลือก "แก้ไข" ของการตั้งค่าส่วนบุคคล จากเดิมที่ระบบกำหนดให้บล็อกอยู่ในรายการของ Blogger และสามารถค้นหาเจอในเครื่องมือค้นหา (เช่น กูเกิล) ได้  

ก็เปลี่ยนเป็นไม่อนุญาตให้บล็อกอยู่ในรายการของ Blogger  เพื่อไม่ให้มีคนกดเจอในรายการรวบรวมบล็อก ของทาง Blogger

และไม่อนุญาตให้เครื่องมือค้นหารวบรวมข้อมูลของบล็อก ทำให้ไม่สามารถค้นหาเจอบล็อกนั้นในเครื่องมือค้นหา ดังภาพ


 คลิกปุ่มบันทึกการเปลี่ยนแปลง เพื่อบันทึกตัวเลือกที่เลือกเปลี่ยน

บล็อกก็จะไม่ถูกคนอื่น search เจอ ตามต้องการ




อย่างไรก็ดี ข้าพเจ้าไม่เห็นด้วยกับการปิดบังบล็อกด้วยวิธีนี้ เนื่องจากบทความของนิสิตโดยส่วนใหญ่ เป็นบทความที่น่าจะมีประโยชน์กับผู้อ่านที่ search หาหัวข้อนั้นๆ มาเจอบทความในบล็อกของนิสิต (ไม่ว่าบทความนั้นจะเขียนเองทั้งหมด เขียนเองบางส่วน หรือคัดลอกเว็บไซต์อื่นมาทั้งดุ้นก็ตามที) อีกทั้งยังสามารถเป็นตัวอย่างการสร้างบล็อก ให้กับนิสิตที่เลือกเรียนรายวิชา 0026008 นี้ ได้เข้ามา search หาดูไว้เพื่อเป็นแนวทางในการสร้างบล็อกอีกด้วย

เมื่อท่านเรียนจบวิชานี้แล้ว และเกรดออกแล้ว ผู้เขียนมีความเห็นว่า หากท่านต้องการความเป็นส่วนตัว หลังจากคะแนนบล็อก (หรือเกรด) ออกเรียบร้อยแล้ว ควรจะลบเฉพาะชื่อ นามสกุล และรหัสนิสิตของท่านออกไปเท่านั้น

ในเมื่อเนื้อหาบทความนั้น เป็นเรื่องที่บุคคลทั่วไปสามารถอ่านได้ ไม่ใช่เรื่องส่วนตัวของท่านหรือของบุคคลใด บทความนั้นก็ไม่น่าจะถูกลบทิ้งไป เพราะข้อมูลที่เขียนไปนั้นอาจจะยังมีประโยชน์กับผู้อื่นได้อีก ดังที่กล่าวไปข้างต้น

ส่วน "แบบฝึกหัดท้ายบท" นั้น จะคงไว้หรือจะลบก็ได้ แล้วแต่ท่านจะพิจารณา หากท่านคิดว่าคนอื่นๆ ควรจะคิดคำตอบเองทั้งหมด และไม่ต้องการให้คนมาลอกคำตอบท่าน หลังจากเกรดออกแล้วท่านก็ลบออกได้ แต่หากท่านคิดว่าคนอื่นๆ นั้น เขาเพียงแค่อยากจะหาดูตัวอย่าง เพื่อเป็นแนวทางการตอบเท่านั้น คงจะไม่ลอกไปทั้งหมด เป็นต้น ก็ให้คงคำตอบค้างเอาไว้ได้

สำหรับท่านที่ไม่ประสงค์ออกนามในบล็อกของท่าน การค้นหาโดยชื่อของท่านจะหาไม่พบบล็อก ทำให้มีความเป็นส่วนตัวมากขึ้น และคงจะไม่เป็นปัญหากับอาจารย์มากนัก เพราะอาจารย์มีชื่อท่าน และ URL ของบล็อกของท่าน ตามที่ท่านส่งอาจารย์ไปอยู่แล้ว

แต่หากมีชื่อของท่านปรากฎอยู่ในบล็อก ก็จะเป็นการดี เพื่อเป็นการยืนยันกับอาจารย์ไปในตัว ว่าบล็อกนี้คือบล็อกของท่าน และเพื่อป้องกันการสับสนกับบล็อก 0026008 ของผู้อื่น

ส่วนท่านที่ไม่ระบุชื่อวิชาและรหัสวิชา คงจะไม่เป็นปัญหากับอาจารย์เช่นกัน เพียงแต่บล็อกของท่านจะไม่ได้เป็นแนวทางหรือเป็นแบบอย่างให้แก่นิสิตผู้ลงเรียน 0026008 ในเทอมต่อๆ ไป เพราะจะ search ชื่อหรือรหัสวิชาแล้วไม่เจอบล็อกของท่าน แต่ผู้ศึกษาค้นคว้าในเรื่องที่ตรงกับบทความนั้นๆ ยังคงมีโอกาส search เจอบทความได้อยู่



นอกเหนือไปจากการปิดบังบทความ ดังที่ข้าพเจ้าได้เขียนอธิบายไปแล้วข้างต้น ข้าพเจ้ายังได้ทดลองทำในสิ่งที่ตรงกันข้ามกัน กับบล็อก 0026008 ของข้าพเจ้าแห่งนี้ สิ่งนั้นคือ เอสอีโอ

วิกิพีเดียภาคภาษาไทย กล่าวว่า เอสอีโอ (search engine optimization: SEO) หรือ การทำให้เหมาะที่สุดสำหรับโปรแกรมค้นหา เป็นการจัดทำ ปรับปรุงเว็บไซต์หรือเว็บเพจ เพื่อให้ติดอันดับต้น ๆ ในหน้าผลการค้นหาของเสิร์ชเอนจิน ด้วยวิธีการธรรมชาติหรือที่ไม่เสียค่าใช้จ่าย ซึ่งผ่านทางเป้าหมายของคำค้นหาที่ต้องการ

อาจกล่าวได้อีกอย่างหนึ่งว่า เอสอีโอคือการทำให้ผลการค้นหาของคำที่ต้องการนั้นมีเว็บไซต์ของเราเป็นอันดับต้นๆ

สำหรับบล็อกที่สร้างกับ Blogspot จะติดอันดับใน Google ได้ดีกว่าการติดอันดับใน Yahoo หรือใน Bing มาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะว่า Blogspot เป็นบล็อกในเครือของ Google นั่นเอง ทำให้ข้อมูลที่สร้างใน Blogspot ที่ไม่ได้ตั้งตัวเลือกปิดบังบล็อก จะเข้าไปติดใน Google ได้โดยอัตโนมัติ

ข้าพเจ้าไม่ได้ดัดแปลงหรือปรับปรุงบล็อกใดๆ เพื่อส่งเสริมหรือบังคับระบบอัตโนมัติของเสิร์ชเอนจินที่เข้ามาเก็บข้อมูลให้พิจารณาบล็อกนี้มากขึ้นแต่อย่างใด

แต่เพื่อให้มีอันดับที่ดีขึ้น ข้าพเจ้าจึงใส่ลิงก์ของบล็อกงานวิชา 0026008 นี้ลงไปในเว็บไซต์อื่นด้วย ข้าพเจ้ามีบล็อกของ Blogspot หลายตัว ทั้งบล็อกของตนเอง และบล็อกที่ตนเองได้มีส่วนร่วม ก็สร้างลิงก์บล็อก 0026008 นี้เพิ่มไปในบล็อกต่างๆ

ผลการค้นหาคำว่า 0026008 ในวันที่ 1 พฤษภาคม 2556



พบว่าได้ผลเป็นที่น่าพอใจ



แก้ไข 14 สิงหาคม 2556 (ผมผ่านรายวิชา 0026008 ไปแล้วครับ) อันดับของเว็บผมในการ SEARCH ได้ตกอันดับไปแล้วครับ 



ในที่นี้คำว่า 0026008 ยังมีผลลัพธ์การค้นหาอยู่ไม่มากนัก การค้นคำว่า 0026008 ในอินเทอร์เน็ตของไทยจะได้ผล แต่หากไปค้นคำนี้ที่ประเทศอื่น ใช้อินเทอร์เน็ตของประเทศอื่น อาจจะไม่ได้ผลแบบนี้.

แหล่งอ้างอิง:  วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี ภาคภาษาไทย บทความ "เอสอีโอ" http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B9%80%E0%B8%AD%E0%B8%AA%E0%B8%AD%E0%B8%B5%E0%B9%82%E0%B8%AD

แหล่งอ้างอิงอื่นๆ: ไม่มี เพราะเขียนขึ้นเองทั้งหมด ยกเว้นย่อหน้าที่อ้างถึงวิกิพีเดียดังกล่าว.  

ภาพประกอบ: เป็นการจับภาพหน้าจอด้วยตนเอง โดยใช้การกดปุ่ม Print Screen แล้วนำไป Paste ลงใน โปรแกรม Paint (mspaint.exe) แล้วตัดแต่งตามต้องการ แล้วบันทึกไฟล์ และอัปโหลดไฟล์เข้ามาใน Blog เพื่อใช้ประกอบในบทความ

.
Public domain This work has been released into the public domain by its author,  nmd dot kim (not dot com, but dot kim). This applies worldwide.
In some countries this may not be legally possible; if so:  nmd dot kim (not dot com, but dot kim) grants anyone the right to use this work for any purpose, without any conditions, unless such conditions are required by law.
Kopimi k.svg This work is labeled as Kopimi, meaning that the copyright holder of this work specifically requests that this work be used and copied for any purpose, including unlimited commercial use and redistribution. It is believed in good faith that a work classified as Kopimi is free to use in any way, including modification and the creation of derivative works.

English | فارسی | français | മലയാളം | português | slovenščina | svenska | 中文(简体)‎ | +/−
.
 .

แบบฝึกหัด บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม

Public domain This work has been released into the public domain by its author,  nmd dot kim (not dot com, but dot kim). This applies worldwide.
In some countries this may not be legally possible; if so:  nmd dot kim (not dot com, but dot kim) grants anyone the right to use this work for any purpose, without any conditions, unless such conditions are required by law.
Kopimi k.svg This work is labeled as Kopimi, meaning that the copyright holder of this work specifically requests that this work be used and copied for any purpose, including unlimited commercial use and redistribution. It is believed in good faith that a work classified as Kopimi is free to use in any way, including modification and the creation of derivative works.

English | فارسی | français | മലയാളം | português | slovenščina | svenska | 中文(简体)‎ | +/−
.
.
 
แบบฝึกหัด

บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม

รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026008

กลุ่มเรียนที่ 1

ชื่อ-สกุล นายxxxx xxxxxx 540112xxxxx (2 xxx) ระบบ ปกติ

คำชี้แจง จงพิจารณากรณีศึกษานี้

ข้อ 1) "นาย A ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ โดยทำการระบุ IP-Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นเพื่อทดลองในงานวิจัย นาย B ที่เป็นเพื่อนสนิทของนาย A ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว C เมื่อนางสาว C ทราบเข้าก็เลยนำโปรแกรมนี้ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆ ที่รู้จักได้ทดลอง" การกระทำอย่างนี้เป็น ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย
ตอบ

1. นาย A สร้างโปรแกรมโจมตีขึ้นก็จริง แต่จากโจทย์ A สร้างขึ้นเพื่อการศึกษาวิจัยเท่านั้น (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของการทำโปรเจคของนิสิตสาขา ICT หรือ CS เป็นต้น)

และ โจทย์ไม่ได้ระบุว่า  A นำไปใช้โจมตีบุคคลอื่นจริงๆ 

ดังนั้น  A ยังไม่ได้กระทำผิดจริยธรรมหรือผิดกฎหมาย ในเรื่องนี้

แต่ การเผยแพร่ไฟล์ที่ไม่เหมาะสม หรือผิดกฎหมาย ให้บุคคลอื่น ในที่นี้คือ B คัดลอกโปรแกรมไปจาก A ซึ่ง A ย่อมไม่รู้ว่า แท้จริงแล้่ว B จะเอาโปรแกรมนั้นไปใช้ทำอะไรบ้าง นั้น หาก A เป็นผู้อนุญาตให้ B คัดลอกโปรแกรมนั้นไป (ไม่ใช่การที่ B แอบคัดลอกไปตอนที่ A เผลอ) ก็ถือว่า A กระทำผิดกฎหมายในเรื่องการแผยแพร่ฯ แต่ถ้าหากไม่มีเจ้าทุกข์ที่จะมาเอาผิดต่อ A (ไม่มีส่วนใดในโปรแกรมที่สามารถระบุได้ว่า A เป็นผู้สร้าง หรือมีส่วนเกี่ยวข้อง, ไม่มีการตรวจยึดอุปกรณ์เก็บข้อมูลของนาย A, นางสาว C และคนอื่นๆ ทั้งหมด ไม่มีใครทราบว่าโปรแกรมที่ใช้ก่อเหตุเป็นโปรแกรมของ A, นาย A ไม่รับสารภาพ และ B ไม่บอกใครว่าเป็นโปรแกรมของ A) นาย A ก็จะไม่ได้รับโทษใดๆ

2. นาย B ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมาย เพราะนำโปรแกรมไปแกล้งนางสาว C

จากโจทย์ระบุว่า "ใช้แกล้ง C" แสดงว่าในขณะนั้น C ถูกกลั่นแกล้ง และไม่ได้เต็มใจให้ B ทดลองโปรแกรมนี้กับตนแต่อย่างใด  แม้ B จะ "ทดลองใช้" ก็ตาม ดังนั้น B จึงผิดจริยธรรม 

และ B จะผิดกฎหมายด้วย หาก C ดำเนินการฟ้องร้องเอาผิดต่อ B ถ้าหากการแกล้งของ B ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์หรือไฟล์งานของ C โดยตรง  แต่การดำเนินการเอาผิดนั้นอาจจะเป็นการยุ่งยากเ้สียเวลา หรือไม่คุ้มค่า เนื่องจากการโจมตีระบบโดยโปรแกรมนี้อาจจะไม่ทำให้เสียหายมากนัก

นางสาว C อาจจะดำเนินการอย่างอื่นต่อ B แทน เช่น หาก B กับ C รู้จักกันแล้ว นางสาว C อาจใช้วิธีการใดๆ เพื่อบีบบังคับให้ B รับผิดชอบ หรือ C อาจตัดความสัมพันธ์กับ B เป็นต้น

(คาดว่า B กับ C รู้จักกันแล้ว เพราะ C ทราบว่าผู้แกล้งคือ B, ทราบว่า B ใช้โปรแกรมอะไรแกล้ง C , และ C ได้โปรแกรมนี้มา โจทย์ไม่ได้ระบุว่า A และ B เผยแพร่โปรแกรมนี้ออกไปยังที่อื่นแต่อย่างใด แสดงว่าต้องรู้จักกับ B หรือ A แล้ว C จึงรับโปรแกรมมาได้)

ทั้งนี้ จากโจทย์ไม่ได้ระบุว่า C ได้ดำเนินการอะไรต่อ B แต่อย่างใด

นาย B ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของ A เพราะการที่ B คัดลอกโปรแกรมของ A ไปใช้นั้น ไม่ได้นำออกเผยแพร่ แต่ B อาจผิดจริยธรรม ถ้าคัดลอกโปรแกรมไปจาก A โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก A  (ทั้งนี้ การที่โจทย์ระบุว่า B กับ A เป็นเพื่อนสนิทกัน อาจทำให้นิสิตผู้ตอบคำถามคิดว่า B ไม่ได้ละเมิดใดๆ ต่อ A)

3. นางสาว C อาจเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของ A (นำโปรแกรมนั้นไปก็อบปี้แจก หรือทำสำเนาไปใช้ต่อ ถือว่ามีความผิดฐาน ทำซ้ำและเผยแพร่)

แต่นาย A จะไม่ดำเนินการเอาผิด C ในทางกฎหมาย เนื่องจากโปรแกรมของ A นั้น เป็นโปรแกรมโจมตี
เป็นไฟล์โปรแกรมที่ไม่เหมาะสม เป็นไฟล์โปรแกรมที่ผิดกฎหมาย เป็นไฟล์ข้อมูลที่สามารถนำไปสู่ความเสียหายต่อผู้อื่น หรือต่อความมั่นคงของประเทศชาติ มีความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ฉะนั้น หาก A ดำเนินการทางกฎหมายกับ C ก็เท่ากับว่า A ออกมายอมรับว่าโปรแกรมโจมตีนั้นเป็นผลงานของตน และตนเองอาจได้รับโทษตามกฎหมายด้วย

จากโจทย์ที่ว่า C นำไปใช้เองนั้น C ก็จะผิดจริยธรรม และอาจผิดกฎหมาย หากใช้งานในการโจมตีผู้อื่นในลักษณะเดียวกับที่ B กระทำกับ C หรือ C จะมีความผิดตามกฎหมายสูงขึ้นไปอีก หาก C นำไปใช้กระทำความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์หลักๆ ของประเทศ หรือของธุรกิจอื่น หรือหน่วยงานอื่น (โอกาสที่ฝ่ายผู้เสียหายจะดำเนินการเอาผิดก็มีสูงขึ้นไปอีก)

และ C มีความผิดตามกฎหมาย คือ C แจกจ่ายโปรแกรมโจมตี แจกจ่ายไฟล์โปรแกรมที่ไม่เหมาะสม แจกจ่ายไฟล์โปรแกรมที่ผิดกฎหมาย เป็นการเผยแพร่ไฟล์ข้อมูลที่สามารถนำไปสู่ความเสียหายต่อผู้อื่น หรือต่อความมั่นคงของประเทศชาติ มีความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์



ข้อ 2)
 "นาย J ได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบน โดยมีหลักฐานอ้างอิงจากตำราต่างๆ อีกทั้งรูปประกอบ เป็นการทำเพื่อสร้างความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงวิชาการใดๆ เด็กชาย K เป็นนักเรียนในระดับประถมปลายที่ทำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J" การกระทำอย่างนี้เป็น ผิดจริยธรรม หรือผิดกฏหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด  ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย
ตอบ 

1.  นาย J สร้างข้อมูลที่ไม่ถูกต้องลงในอินเทอร์เน็ต คือโลกแบน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบและเนื้อหาในการนำเสนอ หากนำเสนอในเชิงทฤษฎี หรือเชิงประวัติศาสตร์ เช่น นำเสนอข้อมูล เป็นแนวคิดหรือหลักการของบุคคล หรือสังคม หรือบางลัทธิ ในอดีต ที่กล่าวว่าโลกแบน เป็นต้น ไม่ได้สื่อข้อมูลเท็จชัดเจนว่าโลกแบนจริงๆ แต่อย่างใด อย่างนี้ก็ไม่น่าจะผิด

สำหรับการที่มีหลักฐานอ้างอิง หากอ้างอิงจากตำราที่มีอยู่จริง ข้อมูลในเล่มที่เชื่อถือได้ และตำรานั้นกล่าวไว้เช่นนั้นจริง ก็ไม่ผิดอีกเช่นกัน

แต่จากโจทย์ มีผู้ที่เชื่อถือข้อมูลในเว็บของ J ว่าโลกแบน  แสดงว่านาย J ต้องการจะสื่อข้อมูลเท็จให้ดูเสมือนว่าเป็นจริง คือ สื่อชัดว่าโลกแบนจริงๆ ไม่ได้บรรยายว่าเป็นแนวคิดหรือทฤษฎีของใคร(ในสมัยก่อน)แต่อย่างใด

นาย J จึงผิดจริยธรรม เนื่องจากทำข้อมูลเท็จ พิมพ์ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง นำออกเผยแพร่ ทำให้ผู้อื่นที่ไม่ีมีความรู้ทั่วไป ที่ว่า "โลกกลม" หลงเชื่อ หรือเกิดความสับสน อีกทั้งยังอ้างตำราข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ (ซึ่งตำราอาจจะไม่มีจริง หรือในตำราอาจจะไม่ได้เขียนว่าอย่างนั้นจริง) ก็ยิ่งเป็นการหลอกลวงมากขึ้นไปอีก

แต่ J ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย เนื่องจากข้อมูลนั้นไม่ได้เป็นการหมิ่นประมาทหรือด่าทอบุคคลใด และข้อมูลนั้นไม่ได้ส่งผลเสียต่อการเมืองการปกครอง หรือเศรษฐกิจของประเทศแต่ประการใด เขาแค่จะสื่อว่าโลกแบนเท่านั้น

ทั้งนี้ ในปัจจุบันเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปแล้วว่าแท้จริงนั้น "โลกกลม" หรือโลกไม่ได้แบนแต่อย่างใด ฉะนั้น หาก J สื่อข้อมูลเท็จชัดเจนว่าโลกแบน บุคคลที่มีวิจารณญาณดีก็ย่อมไม่เชื่อข้อมูลของนาย J หรืออย่างน้อยก็ต้องสงสัยในเนื้อหาของ J แล้วไปค้นหาดูในเสิร์ชเอนจิน เช่น กูเกิล เป็นต้น ก็จะพบว่า "โลกกลม" หรือพบว่าเนื้อหาของ J  นั้นไม่ถูกต้อง



2. เด็กชาย K ไม่ผิดกฎหมาย แต่อาจจะขาดความรู้ทั่วไป ที่ว่า "โลกกลม" จึงไม่เกิดความสงสัยในเนื้อหาของ J

หรือ K ไม่ได้สืบค้นข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล หรือหลายๆ เว็บไซต์ 

เด็กชาย K จึงได้อ่านแต่ข้อมูลเท็จของ J และนำข้อมูลเท็จที่ J ทำขึ้นไปใช้ในรายงาน

ถ้ารายงานของ K นั้นเผยแพร่ไปยังที่อื่นๆ ด้วย ไม่ใช่ว่าแค่ทำส่งครูแล้วก็จบอยู่แค่นั้น K ก็จะผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับนาย J แต่ทำผิดไปโดยไม่ได้เจตนา  แต่จากโจทย์ K เพียงแต่ทำส่งครูเท่านั้น ไม่ได้นำรายงานนี้ไปเผยแพร่ที่อื่น (เช่น นำรายงานนี้ไปให้เพื่อนลอก เป็นต้น) แต่อย่างใด K จึงไม่ผิดจริยธรรม เพราะครูผู้สั่งงานย่อมทราบดีว่า "โลกกลม" โลกไม่ได้แบน ฉะนั้นรายงานนี้ K ทำมาไม่ถูกต้อง และครูก็จะไม่นำเนื้อหาที่เป็นเท็จของ K นี้ไปเผยแพร่ต่อ (เช่น ครูจะไม่นำเล่มรายงานนี้ไปเข้าชั้นหนังสือ ให้นักเรียนคนอื่นได้หยิบอ่าน, ครูจะไม่เก็บเล่มรายงานนี้ไว้ให้นักเรียนรุ่นต่อๆไปได้ดูเป็นตัวอย่างการทำงานส่ง แม้ว่ารูปเล่มของ K นั้นทำมาดี และมีเนื้อหาหลายหน้ากระดาษ)

อย่างไรก็ตาม เด็กชาย K อาจถูกครูตำหนิ ตัดคะแนน หรือลงโทษ เช่นตำหนิว่าข้อมูลเรื่องโลกแบนนั้นไม่จริง ไม่ถูกต้อง แล้วให้คะแนนรายงานได้ศูนย์คะแนน หรือสั่งให้ไปทำใหม่ เป็นต้น เนื่องจากเนื้อหาในรายงานไม่ถูกต้อง ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว

.
Public domain This work has been released into the public domain by its author,  nmd dot kim (not dot com, but dot kim). This applies worldwide.
In some countries this may not be legally possible; if so:  nmd dot kim (not dot com, but dot kim) grants anyone the right to use this work for any purpose, without any conditions, unless such conditions are required by law.
Kopimi k.svg This work is labeled as Kopimi, meaning that the copyright holder of this work specifically requests that this work be used and copied for any purpose, including unlimited commercial use and redistribution. It is believed in good faith that a work classified as Kopimi is free to use in any way, including modification and the creation of derivative works.

English | فارسی | français | മലയാളം | português | slovenščina | svenska | 中文(简体)‎ | +/−
.

แบบฝึกหัด บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ

Public domain This work has been released into the public domain by its author,  nmd dot kim (not dot com, but dot kim). This applies worldwide.
In some countries this may not be legally possible; if so:  nmd dot kim (not dot com, but dot kim) grants anyone the right to use this work for any purpose, without any conditions, unless such conditions are required by law.
Kopimi k.svg This work is labeled as Kopimi, meaning that the copyright holder of this work specifically requests that this work be used and copied for any purpose, including unlimited commercial use and redistribution. It is believed in good faith that a work classified as Kopimi is free to use in any way, including modification and the creation of derivative works.

English | فارسی | français | മലയാളം | português | slovenščina | svenska | 中文(简体)‎ | +/−
.
.
 
แบบฝึกหัด

บทที่ 7 ความปลอดภัยของสารสนเทศ

รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026008

กลุ่มเรียนที่ 1

ชื่อ-สกุล นายxxxx xxxxxx 540112xxxxx (2 xxx) ระบบ ปกติ

คำชี้แจง จงตอบคำถามต่อไปนี้

1. หน้าที่ของ Firewall คือ

Firewall คือซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์

หน้าที่ของไฟร์วอลคือ เป็นตัวกรองข้อมูลสื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ไฟร์วอลจะคอยตรวจสอบข้อมูลต่างๆ ระหว่างเครือข่าย หรือ ระหว่างเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ซึ่งเป็นการป้องกันการโจมตี ป้องกันไวรัส หนอนอินเทอร์เน็ต สแปม เป็นต้น และป้องกันการบุกรุกต่างๆ ที่ไม่หวังดีต่อระบบ ไฟร์วอลเปรียบเสมือนยาม หรือ รปภ. ที่คอยตรวจสอบผู้เข้าออกต่างๆ ในสถานที่นั้นๆ

ความผิดพลาดของตัวไฟร์วอล หรือการปรับแต่งไฟร์วอลที่ผิดพลาด หรือไม่เหมาะสม อาจส่งผลทำให้ไฟร์วอลมีช่องโหว่ และนำไปสู่การโจรกรรมข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือการทำลายระบบคอมพิวเตอร์ได้

2. จงอธิบายคำศัพท์ต่อไปนี้ ที่เกี่ยวข้องกับไวรัสคอมพิวเตอร์ worm, virus computer, spyware, adware มาอย่างน้อย 1 โปรแกรม

มัลแวร์ (Malware) ย่อมาจากคำว่า Malicious Software หมายถึงโปรแกรมประสงค์ร้ายต่างๆ โดยทำงานในลักษณะที่เป็นการโจมตีระบบ การทำให้ระบบเสียหาย รวมไปถึงการโจรกรรมข้อมูล มัลแวร์ แบ่งออกได้หลายประเภท เช่น

ไวรัส (Virus)
เวิร์ม (Worm) หรือหนอนอินเทอร์เน็ต
ม้าโทรจัน (Trojan Horse)
การแอบดักจับข้อมูล (Spyware)
คีย์ล็อกเกอร์ (Key Logger)

ตลอดจนโปรแกรมประเภทขโมยข้อมูล (Cookie) และการฝัง Malicious Mobile Code (MMC) ผ่านทางช่องโหว่ของโปรแกรมอื่น เช่นช่องโหว่ของโปรแกรม Internet Explorer (IE Vulnerability) ที่เกิดขึ้น โดยโปรแกรมจะทำการควบคุมการทำงานโปรแกรม Internet Explorer ให้เป็นไปตามความต้องการของผู้ที่ไม่หวังดี เช่น การแสดงโฆษณาในลักษณะของการ Pop-Up หน้าต่างโฆษณาออกมาเป็นระยะ เรียกโปรแกรมประเภทแสดงโฆษณารบกวนว่า แอ็ดแวร์ (Adware)

ภัยเหล่านี้ในปัจจุบันได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ซึ่งอาจจะเกิดผลกระทบแก่ผู้ใช้งานได้ ถ้าได้รับโปรแกรมเหล่านี้เข้ามาในเครื่องคอมพิวเตอร์

มัลแวร์ประเภทต่างๆ มักถูกเรียกรวมๆ ว่าเป็นไวรัส ซึ่งไม่ถูกต้องนัก






ไวรัสคอมพิวเตอร์ (computer virus) หรือนิยมเรียกโดยย่อว่า "ไวรัส" หมายถึง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่บุกรุกเข้าไปในระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (โอเอส) หรือโปรแกรมคอมพิวเตอร์อื่น หรือข้อมูลคอมพิวเตอร์อื่น โดยไม่ได้รับความยินยอมจากผู้ใช้ ไวรัสฯ โดยทั่วไปมีประสงค์ร้าย คือ ก่อกวนผู้ใช้ และ/หรือ สร้างความเสียหายให้กับข้อมูลคอมพิวเตอร์ หรือระบบของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นๆ






หนอนคอมพิวเตอร์ หรือ คอมพิวเตอร์เวิร์ม (computer worm) หรือเวิร์ม มักจะแพร่กระจายโดยไม่ผ่านการใช้งานของผู้ใช้โดยตรง เช่นเป็นไฟล์ Autorun หรือไฟล์หนอนฯ เข้าไปฝังอยู่ในระบบ ทำให้หนอนฯ ทำงานทุกครั้งที่เปิดเครื่อง หรือทุกครั้งที่เข้าอินเทอร์เน็ต เป็นต้น หรือผ่านการใช้งานที่ไม่ได้ตั้งใจ เช่นเป็นไฟล์หนอนฯ ที่ทำชื่อไฟล์และรูปไอคอนหลอกลวง เพื่อล่อหรือลวงให้ผู้ใช้ดาวน์โหลดไฟล์หรือเปิดไฟล์ เป็นต้น

หนอนสามารถคัดลอกตัวหนอนเองไปยังไดรว์อื่นๆ ได้ แฟลชไดรว์จึงสามารถเป็นพาหะนำหนอนไปติดยังเครื่องอื่นได้ หนอนบางชนิดจะคัดลอกและกระจายตัวมันเองผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ เช่น LAN หรืออินเทอร์เน็ตด้วย หนอนคอมพิวเตอร์สามารถทำลายข้อมูลและแบนด์วิธ สร้างความเสียหายให้กับคอมพิวเตอร์ รวมไปถึงการทำให้คอมพิวเตอร์หยุดทำงาน หนอนคอมพิวเตอร์สามารถที่จะควบคุมความสามารถบางอย่างของคอมพิวเตอร์ และสามารถที่จะส่งไฟล์หรือข้อมูลที่สำคัญไปสู่ผู้สร้างหนอนฯ ผู้ที่ไม่หวังดี คู่แข่ง หรือใครก็ได้ ซึ่งทำให้เกิดความเสียหายได้

ในทางเทคนิคแล้ว แม้ว่าวิธีการแพร่กระจายของไวรัสและหนอนฯ (เวิร์ม) จะคล้ายคลึงกัน คือคัดลอกตัวเองไปติดที่ไดรว์อื่น โฟลเดอร์อื่น หรือไฟล์อื่น แต่ไวรัสจะไม่มีไฟล์เป็นของตัวเอง ไวรัสจะติดแทรกอยู่กับไฟล์อื่น และทำให้ระบบปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ (โอเอส) หรือโปรแกรมอื่น หรือไฟล์อื่น ผิดเพี้ยน หรือเปลี่ยนแปลงไปบางส่วน หรือทั้งหมด ส่วนหนอนฯ จะมีไฟล์เป็นของตัวเอง หากเราสามารถลบไฟล์หนอนฯ ออกไปได้ (โดยที่ไม่ลบผิดไฟล์) ก็จะไม่กระทบต่อไฟล์งานอื่นๆที่ไม่เกี่ยวข้อง แต่การทำงานของหนอนฯ อาจส่งผลเสียต่อโอเอส หรือโปรแกรมอื่น หรือไฟล์อื่นด้วยเช่นเดียวกัน





ม้าโทรจัน (Trojan Horse) เป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาให้ทำตัวเหมือนว่าเป็นโปรแกรมธรรมดา ทั่ว ๆ ไป เพื่อหลอกล่อผู้ใช้ให้ทำการเรียกขึ้นมาทำงาน แต่เมื่อถูกเรียกขึ้นมา ก็จะเริ่มทำลายตามที่โปรแกรมมาทันที ม้าโทรจันบางตัวถูกเขียนขึ้นมาใหม่ทั้งชุด โดยคนเขียนจะทำการตั้งชื่อโปรแกรมพร้อมชื่อรุ่นและคำ อธิบาย การใช้งาน ที่ดูสมจริง เพื่อหลอกให้คนที่จะเรียกใช้ตายใจ

จุดประสงค์ของคนเขียนม้าโทรจันคือเข้าไปทำอันตรายต่อ ข้อมูลที่มีอยู่ในเครื่อง หรืออาจมีจุดประสงค์เพื่อที่จะล้วง เอาความลับของระบบคอมพิวเตอร์

ม้าโทรจันถือว่าไม่ใช่ไวรัส เพราะเป็นโปรแกรมที่ถูกเขียนขึ้นมาโดด ๆ และจะไม่มีการเข้าไปติดในโปรแกรมอื่นเพื่อสำเนาตัวเอง แต่จะใช้ความรู้เท่าไม่ถึงการณ์ของผู้ใช้ เป็นตัวแพร่ระบาดซอฟต์แวร์ที่มี ม้าโทรจันอยู่ในนั้นและนับว่าเป็นหนึ่งในประเภทของโปรแกรมที่มีความอันตรายสูง เพราะยากที่จะตรวจสอบและสร้างขึ้นมาได้ง่าย ซึ่งอาจจะใช้แค่แบตช์ไฟล์ก็สามารถเขียนโปรแกรมม้าโทรจันได้

3. ไวรัสคอมพิวเตอร์แบ่งออกเป็นกี่ชนิด อะไรบ้าง





1. บูตเซกเตอร์ไวรัส (Boot Sector Viruses) หรือ Boot Infector Viruses คือไวรัสที่เก็บตัวเองอยู่ในบูตเซกเตอร์ของดิสก์

การใช้งานของบูตเซกเตอร์ คือเมื่อเครื่องคอมพิวเตอร์เริ่มทำงานขึ้นมาครั้งแรก เครื่องจะเข้าไปอ่านบูตเซกเตอร์ โดยในบูตเซกเตอร์จะมีโปรแกรมเล็ก ๆ ไว้ใช้ในการเรียกระบบปฏิบัติการขึ้นมาทำงาน

การทำงานของบูตเซกเตอร์ไวรัสคือ จะเข้าไปแทนที่โปรแกรมที่อยู่ในบูตเซกเตอร์ โดยทั่วไปแล้วถ้าติดอยู่ในฮาร์ดดิสก์ จะเข้าไปอยู่บริเวณที่เรียกว่า Master Boot Sector หรือ Partition Table ของฮาร์ดดิสก์นั้น

ถ้าบูตเซกเตอร์ของดิสก์ใดมีไวรัสประเภทนี้ติดอยู่ ทุก ๆ ครั้งที่บูตเครื่องขึ้นมา เมื่อมีการเรียกระบบปฏิบัติการจากดิสก์นี้ โปรแกรมไวรัสจะทำงานก่อนและเข้าไปฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำเพื่อเตรียมพร้อมที่จะทำงานตามที่ได้ถูกโปรแกรมมา ก่อนที่จะไปเรียกให้ระบบปฏิบัติการทำงานต่อไป ทำให้เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น





2. โปรแกรมไวรัส (Program Viruses) หรือ File Intector Viruses เป็นไวรัสอีกประเภทหนึ่ง ที่จะติดอยู่กับโปรแกรม ซึ่งปกติจะเป็นไฟล์ที่มีนามสกุลเป็น COM หรือ EXE และบางไวรัสสามารถเข้าไปอยู่ใน
โปรแกรมที่มีนามสกุลเป็น SYS ได้ด้วย

(โปรแกรมไวรัสในที่นี้ หมายถึงโปรแกรมคอมพิวเตอร์โดยทั่วไป ที่ติดไวรัสขึ้นในภายหลัง ไม่ได้กล่าวรวมไปถึงโปรแกรมหนอน หรือโปรแกรมม้าโทรจัน อันเป็นโปรแกรมที่ตัวมันเองเป็นภัยคุกคามระบบเองโดยตรง ซึ่งต้องลบทิ้งหรือกำจัดทิ้งสถานเดียว)

การทำงานของไวรัสประเภทนี้ คือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่ติดไวรัส ส่วนของไวรัสจะทำงานก่อนและจะถือโอกาสนี้ฝังตัวเข้าไปอยู่ในหน่วยความจำทันที แล้วจึงค่อยให้โปรแกรมนั้นทำงานตามปกติ เมื่อฝังตัวอยู่ในหน่วยความจำแล้ว หลังจากนี้หากมีการเรียกโปรแกรมอื่น ๆ ขึ้นมาทำงานต่อ ตัวไวรัสจะสำเนาตัวเองเข้าไปในโปรแกรมเหล่านี้ทันที เป็นการแพร่ระบาดต่อไป

นอกจากนี้ไวรัสนี้ยังมีวิธีการแพร่ระบาดอีกคือ เมื่อมีการเรียกโปรแกรมที่มีไวรัสติดอยู่ ตัวไวรัสจะเข้าไปหาโปรแกรมอื่น ๆ ที่อยู่ติดเพื่อทำสำเนาตัวเองลงไปทันที แล้วจึงค่อยให้โปรแกรมที่ถูกเรียกนั้นทำงานตามปกติต่อไป




3. โพลีมอร์ฟิกไวรัส (Polymorphic Viruses) เป็นชื่อที่ใช้เรียกไวรัสที่มีความสามารถในการแปรเปลี่ยนตัวเองได้เมื่อมีการสร้างสำเนาตัวเองเกิดขึ้น ซึ่งอาจได้ถึงหลายร้อยรูปแบบ ผลก็คือ ทำให้ไวรัสเหล่านี้ยากต่อการถูกตรวจจับโดยโปรแกรมตรวจหาไวรัสที่ใช้วิธีการสแกนอย่างเดียว ไวรัสใหม่ ๆ ในปัจจุบันที่มีความสามารถนี้เริ่มมีจำนวนเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ




4. สทิลต์ไวรัส (Stealth Viruses) เป็นชื่อเรียกไวรัสที่มีความสามารถในการพรางตัวต่อการตรวจจับได้ เช่น ไฟล์อินเฟกเตอร์ ไวรัสประเภทที่ไปติดโปรแกรมใดแล้วจะทำให้ขนาดของโปรแกรมนั้นใหญ่ขึ้น ถ้าโปรแกรมไวรัสนั้นเป็นแบบสทิสต์ไวรัส จะไม่สามารถตรวจดูขนาดที่แท้จริงของโปรแกรมที่เพิ่มขึ้นได้
เนื่องจากตัวไวรัสจะเข้าไปควบคุมระบบปฏิบัติการ เช่น ดอส เมื่อมีการใช้คำสั่ง DIR หรือควบคุมโปรแกรมใดก็ตามที่ใช้ตรวจดูขนาดของโปรแกรม ดอสก็จะแสดงขนาดเหมือนเดิมทุกอย่าง ราวกับว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น





5. Macro viruses จะติดต่อกับไฟล์ซึ่งใช้เป็นต้นแบบ (template) ในการสร้างเอกสาร (documents หรือ spreadsheet) หลังจากที่ต้นแบบในการใช้สร้างเอกสารติดไวรัสแล้ว ทุก ๆ เอกสารที่เปิดขึ้นใช้ด้วยต้นแบบอันนั้นจะติดไวรัสนั้นตามไปด้วย และไวรัสอาจทำให้ไฟล์งานนั้นเสียหายหรือผิดเพี้ยนไปจากเดิม

4. ให้นิสิตอธิบายแนวทางในการป้องกันไวรัสคอมพิวเตอร์มาอย่างน้อย 5 ข้อ



คำแนะนำและการป้องกันไวรัส
  • ควรติดตั้งซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสที่เชื่อถือได้ และต้องสามารถอัพเดทฐานข้อมูลไวรัสและเครื่องมือได้ตลอด เพราะจะทำให้สามารถดักจับและจัดการกับไวรัสตัวใหม่ๆ ได้อย่างรวดเร็ว
  • อัพเดทซอฟต์แวร์ป้องกันไวรัสอย่างสม่ำเสมอ หากเป็นไปได้ควรอัพเดททุกครั้งที่ออนไลน์ เพราะจะมีไวรัสใหม่หรือภัยคุกคามอื่นๆ แบบใหม่เกิดขึ้นทุกวันในโลก

  • ควรสแกนแฟลชไดรว์ก่อนใช้งานทุกครั้ง เพราะแฟลชไดรว์เป็นพาหะในการแพร่ไวรัส หนอน หรือม้าโทรจัน จากพีซีเครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่งได้

  • ไม่ควรเรียกโปรแกรมที่ติดมากับแฟลชไดรว์อื่น โดยไม่จำเป็น

  • ควรสำรองไฟล์ข้อมูลที่สำคัญ (ก็อปปี้ไฟล์ข้อมูลที่สำคัญไปเก็บไว้ที่อื่นๆ)

  • เรียกใช้โปรแกรมตรวจหาไวรัสเป็นช่วง ๆ

  • เรียกใช้โปรแกรมตรวจจับไวรัสแบบเฝ้าดู หรือแบบ realtime ทุกครั้ง

  • ควรเลือกติดตั้งซอฟต์แวร์จากแหล่งที่น่าเชื่อถือ เช่น ใช้แผ่นแท้ หรือดาวน์โหลดโปรแกรมจากเว็บไซต์ผู้ผลิตโดยตรง (กรณีที่เป็นฟรีแวร์หรือโปรแกรมประเภทโอเพ่นซอร์ส ซึ่งสามารถดาวน์โหลดมาใช้งานได้ฟรี) หรือซื้อการดาวน์โหลดแบบถูกกฎหมายจากบริษัทหรือตัวแทนจำหน่ายโดยตรง เป็นต้น

    ไม่ควรดาวน์โหลดจากเว็บไซต์ที่ไม่น่าเชื่อถือ เว็บไซต์แจกโปรแกรมเถื่อนบางเว็บไซต์อาจมีภัยคุกคามโดยตรง หากเป็นไปได้ควรหลีกเลี่ยง และบางเว็บไซต์อาจมีการล่อลวงให้ทำกิจกรรมบางอย่างก่อน จึงจะให้ดาวน์โหลด เช่นลวงให้ไปโดน Phishing หลอกให้ใส่รหัสผ่าน หรือลวงให้ไปเข้าชมเว็บที่มีไวรัส เป็นต้น  (และอาจจะไม่ได้มีให้ดาวน์โหลดจริง) ดังนั้นควรใช้วิจารณญาณในการเข้าชม

    นอกเหนือจากไวรัสหรือหนอนฯ แล้ว เว็บไซต์เถื่อนโดยทั่วไปมักมีโฆษณาลามกอนาจาร จึงไม่ควรเข้าชมเว็บไซต์เถื่อนในที่สาธารณะให้บุคคลอื่นเห็น เพราะอาจทำให้บุคคลอื่นเข้าใจผิดในตัวเราได้ แม้ไม่ได้ตั้งใจเปิดก็ตาม

    นอกจากนี้ยังพบว่าแผ่นเถื่อนบางรายอาจเป็นการหลอกลวง มีข้อมูลไม่ตรงตามปก หรืออาจมีข้อมูลไม่ครบ หรือโปรแกรมเถื่อนบางแหล่งอาจมีไวรัส หนอน ม้าโทรจัน หรือภัยคุกคามอื่นๆ ติดมาด้วย

  • ไม่ควรเข้าเว็บที่เสี่ยงต่อการติดไวรัส เช่น เว็บโป๊ เว็บแจกโปรแกรมเถื่อน เว็บแจก Crack/Serial ต่างๆ เป็นต้น ตามที่ได้กล่าวอธิบายไปแล้ว
  • เมื่อทราบว่าเครื่องติดไวรัส (หรือหนอน หรือม้าโทรจัน เป็นต้น) หากเป็นไปได้ให้พยายามหาทางกำจัดไวรัสนั้นออกจากระบบ โดยที่ไม่ต้องล้างเครื่อง หรือลงวินโดวส์ใหม่

    การล้างเครื่องหรือลงวินโดวส์ใหม่และลงโปรแกรมใหม่หมดจะเป็นการเสียเวลา และอาจทำให้ไฟล์งานเดิมที่มีอยู่สูญหายไป

    (ถ้าหากมีการทำ GHOST ระบบ หรือทำ CLONE ระบบทั้งหมด เก็บเอาไว้แล้วก่อนหน้า ก็สามารถนำเทคนิคเหล่านี้มาใช้แทนการลงวินโดวส์และโปรแกรมต่างๆใหม่หมดได้ เพราะจะรวดเร็วกว่าการลงใหม่หมด แต่อาจทำให้ไฟล์งานเดิมที่มีอยู่สูญหายไปเช่นกัน จึงควรพยายามคัดลอกไฟล์งานออกไป ก่อนเริ่มล้างเครื่องหรือทำระบบใหม่)

   
5. มาตรการด้านจริยธรรมคอมพิวเตอร์ที่ควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตที่เหมาะสมกับสังคมปัจจุบัน ได้แก่

มาตรการที่เหมาะสม คือ

1. มาตรการทางการบริหาร หน่วยงานของรัฐ ต้องปฏิบัติหน้าที่อย่างจริงจัง รวมทั้งต้องมีบุคลากรที่เหมาะสม และเพียงพอต่อการปฏิบัติงาน

หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมีการวางมาตรการที่เด็ดขาดในการควบคุมดูแลพื้นที่ไซเบอร์ มีนโยบายที่ชัดเจน มีประสิทธิภาพ

อินเทอร์เน็ตเป็นสื่อที่ช่วยกระจายองค์ความรู้ใหม่ๆ ไปสู่ประชาชนได้ ซึ่งหากเป็นข้อมูลความรู้ที่ดี ก็ควรส่งเสริม

แต่บ่อยครั้งที่มีเว็บไซต์และไฟล์ในอินเทอร์เน็ตจำนวนมากที่เผยแพร่วัฒนธรรมหรือกิจกรรมที่ไม่เหมาะสม และส่วนใหญ่ไม่ได้ถูกแบน ไม่ถูกบล็อก ไม่ถูกเซนเซอร์ โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงไอซีที เป็นต้น (อาจเป็นเพราะ ไม่ต้องการให้กระทบต่อ "ความเสรีของอินเทอร์เน็ต" ซึ่งต่างชาติและฝ่ายเสรีนิยมหลายท่านเน้นในเรื่องนี้ จึงบล็อกในกรณีที่ร้ายแรงจริงๆ เช่นเป็นเว็บที่อยู่ในคดีความ หรือบางเว็บที่หมิ่นประมาทด่าทอรัฐบาลในยุคสมัยนั้นๆ) เป็นต้น) ผู้ใช้จึงควรมีวิจารณญาณในการรับชม และไม่ควรปล่อยให้เด็กเล่นอินเทอร์เน็ตตามลำพัง หรืออาจใช้โปรแกรมช่วยป้องกันไม่ให้เข้าเว็บไซต์ไม่เหมาะสม

2. มาตรการทางกฎหมาย หน่วยงานที่ทำหน้าที่ใน การบังคับใช้กฎหมายต้องมีบุคลากรอย่างเพียงพอ เช่น สำนักงานตำรวจแห่งชาติ นอกจากกำหนดให้การกระทำอันมิชอบทั้งหลายบนอินเทอร์เน็ต เป็นความผิดที่ไม่ต่างจากการกระทำในโลกจริงแล้วยังพยายามแก้ไขเพิ่มเติม กฎหมาย เพิ่มอำนาจการสืบสวนสอบสวน เพื่อแสวงหาพยานหลักฐานให้กับเจ้าพนักงานของรัฐ รวมทั้งกำหนดให้ผู้ให้บริการ อินเทอร์เน็ตที่เกี่ยวพันกับข้อมูลการใช้อินเทอร์เน็ตทั้งหลายมีหน้าที่ตามกฎหมายต้องจัดเก็บส่งมอบหรือให้ความร่วมมือกับเจ้าพนักงานเพื่อช่วยกันนำตัวผู้กระทำความผิดมาลงโทษ

3. มาตรการทางการควบคุมจรรยาบรรณ จะต้องมีเครือข่าย ที่มีการดูแล ผู้ประกอบอาชีพและทำกิจกรรมบนพื้นที่ไซเบอร์ ที่สามารถทำหน้าที่ได้อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ควรมีการป้องกันการชี้นำความคิดที่ผิดให้แก่คนในสังคม

ต้องมีการกระตุ้นให้เกิดสมาคมและเครือข่ายเพื่อดูแลกันเอง

การเก็บข้อมูล หรือแสดงข้อมูล เพื่อแสดงตัวตน ก็เพื่อให้สามารถยืนยันตัวตนของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้อย่างชัดเจนยิ่งขึ้น และเพิ่มความน่าเชื่อถือในการทำการค้า ทำธุรกิจ และพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์

(ในหลายๆ เว็บไซต์ในประเทศไทยก็ได้มีระบบ หรือตัวเลือกเสริม ที่ให้แสดงตัวตนที่แท้จริง เช่น การเป็น Verified Member หรือ Verified Account เป็นต้น เพื่อให้รู้ว่าใครเป็นใคร โดยเฉพาะอย่างยิ่งผู้ค้าขายทางอินเทอร์เน็ตหลายรายก็นิยมยืนยันตัวตน เพื่อให้ผู้ซื้อมีความมั่นใจมากขึ้นในการติดต่อซื้อขายสินค้า)

และองค์กร เครือข่าย สมาคม ของผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยังสามารถช่วยเหลือคนในวงการอินเตอร์เน็ต ช่วยคนทำเว็บไซต์ ใช้สายสัมพันธ์ในการให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้น
.
.
Public domain This work has been released into the public domain by its author,  nmd dot kim (not dot com, but dot kim). This applies worldwide.
In some countries this may not be legally possible; if so:  nmd dot kim (not dot com, but dot kim) grants anyone the right to use this work for any purpose, without any conditions, unless such conditions are required by law.
Kopimi k.svg This work is labeled as Kopimi, meaning that the copyright holder of this work specifically requests that this work be used and copied for any purpose, including unlimited commercial use and redistribution. It is believed in good faith that a work classified as Kopimi is free to use in any way, including modification and the creation of derivative works.

English | فارسی | français | മലയാളം | português | slovenščina | svenska | 中文(简体)‎ | +/−
.
.
 
4. มาตรการทางสังคม ต้องยกระดับและพัฒนาสถาบันพื้นฐาน เช่น สถาบันครอบครัว สถาบันศาสนา สถาบันทางสังคม และสถาบันทางธุรกิจ ให้มีความรู้ ความสามารถด้านไอทีเพียงพอที่จะดูแลบุคคลในสถาบันของตน โดยที่ผู้นำองค์กรทางธุรกิจและสังคมต้องมีความรู้ทางไอทีเป็นอย่างดี

สำหรับสถาบันทางธุรกิจนั้น ส่วนใหญ่มีความรู้ความสามารถทางไอทีเป็นอย่างดี แต่มีบางรายที่ใช้ไอทีไปในทางที่ไม่เหมาะสม เช่น

  • การยิงโฆษณารบกวนผู้ใช้อื่น (สแปม) หลอกลวงขายสินค้าโดยอ้างสรรพคุณเกินจริง หรืออ้างครอบจักรวาล และบ่อยครั้งที่ใช้ข้อความเดิมซ้ำไปเรื่อยๆ ยิ่งทำให้เกิดความน่ารำคาญมากขึ้น
  • การคัดลอกภาพของบุคคลที่ไม่เกี่ยวข้อง เช่นภาพคนรูปร่างหน้าตาดี นำไปแอบอ้างว่าเป็นผู้ที่ใช้สินค้าได้ผลดี 
  • การตกแต่งภาพ หรือเทคนิคการสร้างภาพ อันเป็นส่วนหนึ่งของการโฆษณาเกินจริง เช่น การใช้โปรแกรมแต่งภาพเพื่อลวงว่าหน้าใสขึ้น การใช้มุมกล้อง และการแต่งกาย เพื่อลวงว่าหุ่นดีขึ้น การปรับสีในภาพ การใช้แสงไฟหรือไฟแฟลชเข้าช่วย เพื่อลวงว่าขาวขึ้น การแขม่วพุงเพื่อลวงว่าผอมลง การแต่งภาพให้เห็นตัวเลขเงินในบัญชีจำนวนมากกว่าความเป็นจริงเพื่อลวงว่าลงทุนทำงานนี้แล้วรวย การที่หลายคนในขบวนการ นำภาพซ้ำกันมาใช้ แต่อ้างว่าเป็นผลงานหรือผลลัพธ์ของตนเองหรือบุคคลที่แตกต่างกันออกไป
  • การสร้างเว็บไซต์ลวง (Phishing) เพื่อหลอกล่อให้เหยื่อ Login โดยใส่รหัสผ่านที่ถูกต้อง เช่น หลอกลวงว่าเป็นการชิงโชค รางวัลเป็นไอโฟน แบล็คเบอรี์รี่ หรือสมาร์ตโฟนอื่นๆ เป็นต้น แต่ไม่มีการแจกรางวัลจริง ผู้สร้างเว็บไซต์ลวงจะได้รับรหัสผ่าน เขาก็จะนำไปแฮคเฟสบุค แล้วนำเฟสบุคของเหยื่อที่ได้ไปใช้ยิงโฆษณารบกวนผู้ใช้อื่น (สแปม) ต่อไปเรื่อยๆ
ปัจจุบันยังคงมีอยู่ทั่วไปในอินเทอร์เน็ต แต่ยังไม่สามารถล้มล้างหรือเอาผิดธุรกิจดังกล่าวได้โดยง่าย (ทางบริษัทยังยืนกรานปฏิเสธ โดยอ้างว่าไม่มีนโยบายในลักษณะดังกล่าว เป็นพฤติกรรมของตัวผู้ขายเอง ไม่เกี่ยวกับบริษัท เป็นต้น) จึงมีมาตรการต่อต้านทางสังคมออนไลน์ขึ้น เพื่อแสดงการไม่เห็นด้วยกับการค้าในลักษณะดังกล่าว
.
.
Public domain This work has been released into the public domain by its author,  nmd dot kim (not dot com, but dot kim). This applies worldwide.
In some countries this may not be legally possible; if so:  nmd dot kim (not dot com, but dot kim) grants anyone the right to use this work for any purpose, without any conditions, unless such conditions are required by law.
Kopimi k.svg This work is labeled as Kopimi, meaning that the copyright holder of this work specifically requests that this work be used and copied for any purpose, including unlimited commercial use and redistribution. It is believed in good faith that a work classified as Kopimi is free to use in any way, including modification and the creation of derivative works.

English | فارسی | français | മലയാളം | português | slovenščina | svenska | 中文(简体)‎ | +/−
.
.
.
5. มาตรการทางการศึกษา ควรพัฒนาการศึกษาระบบสารสนเทศและความรู้ไอทีให้กว้างขวาง รวมทั้งจัดทำหลักสูตรออนไลน์ ให้ครอบคลุมทุกสาขาวิชา ทั้งในและนอกระบบการศึกษา

6. มาตรการทางคุณธรรมและจริยธรรม ได้แก่ การจัดระบบการให้การศึกษาแก่ผู้ใช้เทคโนโลยีเหล่านี้ทางด้านคุณธรรมและ จริยธรรม เพื่อให้เขาเหล่านั้นเข้าไปชักนำโลกเสมือนจริงและการทำกิจกรรมบนพื้นที่ไซเบอร์ไปในทางที่ถูกที่ควร

การแก้ปัญหาที่ดีที่สุดคือการส่งเสริมให้ประชาชนมีคุณธรรมและจริยธรรมในการใช้เทคโนโลยี

การประกาศใช้พระราชบัญญัติคอมพิวเตอร์ที่ชัดเจน ไม่คลุมเครือ ดำเนินการเอาผิดกับผู้ที่กระทำผิดอย่างจริงจัง มีผู้ควบคุมดูแลระบบใหญ่และระบบย่อยทั้งหมด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการกระทำผิดขึ้น และไม่ให้ผู้กระทำผิดตัวจริงลอยนวล

นอกจากนี้ต้องมีการส่งเสริมให้คนมีคุณภาพเข้ามาใช้อินเทอร์เน็ต และต้องสร้างเว็บไซต์ที่มีคุณภาพให้เกิดขึ้นมากๆ อาจจะมีการส่งเสริมให้อาจารย์ นักวิชาการ หรือแม้กระทั่งนักเรียน นิสิต นักศึกษา ทำการเขียนบทความ หรือนำผลงานของตน บางส่วนหรือทั้งชิ้น ในวิชาที่เกรดออกแล้ว ไปเผยแพร่ลง website หรือ blog (บล็อก) เหล่านี้จะเป็นการส่งเสริมผลักดันให้มีข้อมูลคุณภาพในอินเทอร์เน็ต

ที่สำคัญคือสถานศึกษาต้องปลูกฝังจิตสำนึกของนักเรียนในสถาบันของตนเองให้มีความรู้ ความเข้าใจในการใช้ Internet อย่างถูกต้อง

การเข้าแข่งขัน เกี่ยวกับการทำ SEO เช่น SEO2013 ในหัวข้อ "ทําบุญวันออกพรรษา" ก็เป็นการผลักดันข้อมูลคุณภาพได้ เนื่องจากกติกาการแข่งขันระบุว่าเว็บไซต์ผู้ชนะนั้นจะต้องมีเนื้อหาที่ดีด้วย ไม่ใช่เพียงแค่ชนะในการเซิร์ชกูเกิลอย่างเดียว (ชนะในการเซิร์ชกูเกิล หมายถึง จากผลการค้นหาคำว่าทำบุญออกพรรษา เว็บของผู้ชนะอันดับหนึ่ง จะอยู่ในลำดับการค้นหาที่ดีที่สุด ดีกว่าลำดับของผู้แข่งขันท่านอื่นทุกคน)

.
Public domain This work has been released into the public domain by its author,  nmd dot kim (not dot com, but dot kim). This applies worldwide.
In some countries this may not be legally possible; if so:  nmd dot kim (not dot com, but dot kim) grants anyone the right to use this work for any purpose, without any conditions, unless such conditions are required by law.
Kopimi k.svg This work is labeled as Kopimi, meaning that the copyright holder of this work specifically requests that this work be used and copied for any purpose, including unlimited commercial use and redistribution. It is believed in good faith that a work classified as Kopimi is free to use in any way, including modification and the creation of derivative works.

English | فارسی | français | മലയാളം | português | slovenščina | svenska | 中文(简体)‎ | +/−
.

10 April 2013

ความสัมพันธ์ระหว่างไทย - เอริเทรีย

Public domain This work has been released into the public domain by its author,  nmd dot kim (not dot com, but dot kim). This applies worldwide.
In some countries this may not be legally possible; if so:  nmd dot kim (not dot com, but dot kim) grants anyone the right to use this work for any purpose, without any conditions, unless such conditions are required by law.
Kopimi k.svg This work is labeled as Kopimi, meaning that the copyright holder of this work specifically requests that this work be used and copied for any purpose, including unlimited commercial use and redistribution. It is believed in good faith that a work classified as Kopimi is free to use in any way, including modification and the creation of derivative works.

English | فارسی | français | മലയാളം | português | slovenščina | svenska | 中文(简体)‎ | +/−
.
.
 .
.
.
.
.

ธงชาติเอริเทรีย

Flag of Eritrea.svg




 ความสัมพันธ์ด้านการทูต

ประเทศเอริเทรีย (Eritrea) (ในบางสื่ออาจสะกดเป็น เอริเตรีย) ได้ประกาศแยกตัวเป็นเอกราชจากเอธิโอเปียอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2536 ในปีเดียวกันประเทศไทยได้ร่วมให้การรับรองเอกราชของเอริเทรีย และร่วมสนับสนุนในการรับเอริเทรียเข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ

ไทยและเอริเทรียสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2536 ปัจจุบันยังไม่มีสถานทูตไทยในเอริเทรีย และยังไม่มีสถานทูตเอริเทรียในไทย ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา มีเขตอาณาครอบคลุมเอริเทรีย และสถานเอกอัครราชทูตรัฐเอริเทรีย ณ กรุงนิวเดลี มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ

ปัจจุบันปริมาณการค้าระหว่างไทย-เอริเทรียมีมูลค่าน้อย การค้าระหว่างไทยกับเอริเทรีย ในปี 2555 มีมูลค่าการค้ารวม 12.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายส่งสินค้าขายเอริเทรียเกือบทั้งหมด คือ 12.34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้เป็นการส่งออกน้ำตาลทรายเกือบทั้งหมด คือ 12.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ธันวาคม 2554) เห็นว่า ทั้งไทยและเอริเทรียยังสามารถกระชับและขยายความร่วมมือระหว่างกันได้อีกมาก ทั้งด้านการค้า การลงทุน การประมง และความร่วมมือเพื่อการพัฒนา

การเดินทางและการติดต่อสื่อสาร

ประเทศเอริเทรียมีลักษณะค่อนข้างปิดตัวเองจากโลกภายนอก ในการเดินทางเข้าเอริเทรียต้องขอวีซ่า ซึ่งมักจะล่าช้า หากเป็นวีซ่าประเภทนักท่องเที่ยว มีผู้กล่าวว่าอาจต้องรอนานเกินหนึ่งสัปดาห์ และเมื่อครบกำหนดรอก็อาจไม่ผ่านการอนุมัติอีกด้วย หลังจากโดยสารเครื่องบินเข้ามายังเมืองแอสมารา (Asmara) เมืองหลวงของเอริเทรียแล้ว หากจะเดินทางออกนอกแอสมาราไปไกลกว่า 5 กิโลเมตร ก็ต้องขอรับใบอนุญาตอีก (พ.ศ. 2554)

ส่วนประชาชนชาวเอริเทรีย หากจะออกนอกประเทศ ก็ต้องขอวีซ่าขาออก (exit visa) ทุกครั้ง ก่อนที่จะขอวีซ่าขาเข้าประเทศปลายทาง

ตู้โทรศัพท์สาธารณะยังเป็นสิ่งที่จำเป็นในเอริเทรีย (พ.ศ. 2554) เนื่องจากซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือยังไม่เป็นที่แพร่หลาย

สำหรับอินเทอร์เน็ตนั้นมีไม่แพร่หลายเท่ากับในประเทศไทย อินเทอร์เน็ตยังช้าและมีราคาแพง หากต้องการใช้อินเทอร์เน็ตแบบจานดาวเทียมก็ต้องทำเรื่องขออนุญาตกับหลายหน่วยงานอีกด้วย คาดว่ามีการติดต่อกันระหว่างบุคคลไทยกับบุคคลในเอริเทรียทางอินเทอร์เน็ตน้อยมาก

ปัจจุบันมีคนไทยทำงานในเอริเทรียอยู่น้อยมาก จากบทความของชาวไทยที่เล่าถึงการเดินทางหรือการทำงานในเอริเทรีย คาดว่ามีคนไทยทำงานอยู่ในเอริเทรียไม่เกิน 10 คน


แหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ในบทความ

บทความ "รัฐเอริเทรีย" จากเว็บไซต์ของกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 23 มีนาคม 2553 http://www.thaiafrica.net/th/about-africa/country/detail.php?ID=670

บทความ "ประเทศเอริเทรีย" จากเว็บไซต์ของ ICSC : International Cooperation Study Center http://www.apecthai.org/apec/th/profile1.php?continentid=6&country=er

ข่าวภารกิจสำคัญด้านการต่างประเทศ "ไทยพร้อมกระชับความร่วมมือกับเอริเทรีย" จากเว็บไซต์ของกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ 08/12/2011 http://sameaf.mfa.go.th/th/news/detail.php?ID=2694&SECTION=CALENDAR

บทความ "เอริเทรีย (Eritrea) : สังคมนิยมจ๋าในแอฟริกายุค Facebook" เขียนโดยคุณ Thaisoloclub 19 ตุลาคม 2554 15:04:53 น. http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=hotfeet&month=05-2011&date=07&group=3&gblog=18

บทความ "Eritrea ประเทศใหม่ ที่กำลังจะหายไป" (ตั้งกระทู้ในเว็บไซต์พันทิพดอตคอม) เขียนโดยคุณ letsgokrabi - [ 3 ก.ค. 2550 22:23:58 ] http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/07/K5573513/K5573513.html

บทความ "Eritrea ภาคสอง" (ตั้งกระทู้ในเว็บไซต์พันทิพดอตคอม) เขียนโดยคุณ letsgokrabi - [ 12 ส.ค. 2550 23:46:02 ] http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/08/K5707676/K5707676.html

.
Public domain This work has been released into the public domain by its author,  nmd dot kim (not dot com, but dot kim). This applies worldwide.
In some countries this may not be legally possible; if so:  nmd dot kim (not dot com, but dot kim) grants anyone the right to use this work for any purpose, without any conditions, unless such conditions are required by law.
Kopimi k.svg This work is labeled as Kopimi, meaning that the copyright holder of this work specifically requests that this work be used and copied for any purpose, including unlimited commercial use and redistribution. It is believed in good faith that a work classified as Kopimi is free to use in any way, including modification and the creation of derivative works.

English | فارسی | français | മലയാളം | português | slovenščina | svenska | 中文(简体)‎ | +/−
.

ความสัมพันธ์ระหว่างไทย - เกาหลีเหนือ

Public domain This work has been released into the public domain by its author,  nmd dot kim (not dot com, but dot kim). This applies worldwide.
In some countries this may not be legally possible; if so:  nmd dot kim (not dot com, but dot kim) grants anyone the right to use this work for any purpose, without any conditions, unless such conditions are required by law.
Kopimi k.svg This work is labeled as Kopimi, meaning that the copyright holder of this work specifically requests that this work be used and copied for any purpose, including unlimited commercial use and redistribution. It is believed in good faith that a work classified as Kopimi is free to use in any way, including modification and the creation of derivative works.

English | فارسی | français | മലയാളം | português | slovenščina | svenska | 中文(简体)‎ | +/−
.
.
.
.
.
.
 
ธงชาติเกาหลีเหนือ

ธงชาติเกาหลีเหนือ

ความสัมพันธ์ทางการเมืองและทางการทูต

ความสัมพันธ์ไทย-เกาหลีเหนือ เริ่มมีขึ้นอย่างไม่เป็นทางการในปี พ.ศ. 2515 โดยเป็นการติดต่อค้าขาย และการกีฬา ต่อมาได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 นับตั้งแต่นั้นมา ทั้ง 2 ประเทศก็ได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ

ปัจจุบันในรัฐสภาไทยมีกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-เกาหลีเหนือ เช่นเดียวกับ "กลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภา" ที่มีชื่อคู่ระหว่างไทยกับชาติอื่นๆ (เช่น กลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-มาเลเซีย เป็นต้น) ซึ่งแสดงถึงการมีความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลเกาหลีเหนือ เช่นเดียวกันกับระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศอื่นๆ

เกาหลีเหนือมีสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย ที่กรุงเทพมหานคร แต่ทางการไทยยังไม่ได้เปิดสถานทูตไทย ณ กรุงเปียงยางแต่อย่างใด และให้สถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน มีเขตอาณาครอบคลุมเกาหลีเหนือ (ทำหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเกาหลีเหนือ)

ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างไทยและเกาหลีเหนือยังมีปัญหาอยู่บางประการ ที่เคยเป็นข่าวใหญ่ได้แก่ ปัญหาคนไทยที่ถูกสายลับของเกาหลีเหนือลักพาตัวไปยังเกาหลีเหนือ เช่นในกรณีของ อโนชา ปันจ้อย เป็นต้น

ความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน

การลงทุนของธุรกิจไทยในเกาหลีเหนือมีอยู่ไม่มากนัก ส่วนธุรกิจของเกาหลีเหนือนั้นเกือบทั้งหมดเป็นของรัฐบาล และไม่ได้ลงทุนในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ หรือมีสาขาในประเทศไทยแต่อย่างใด

ในปี 2539 บริษัท ล็อกซเลย์ จำกัด มหาชน (Loxley) เคยลงทุนกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเกาหลีเหนือ โดยร่วมลงทุนกับบริษัทของฟินแลนด์ ต่อมาถูกเกาหลีเหนือระงับสัมปทาน เมื่อเดือนพฤษภาคม 2547 และไม่มีแนวโน้มที่จะได้สัมปทานใหม่ต่อ ล็อกซเลย์จึงเปลี่ยนไปดำเนินธุรกิจอื่นแทน เช่นธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้า ระหว่างไทยกับเกาหลีเหนือ เป็นต้น

ปัจจุบันมีคนไทยทำงานในเกาหลีเหนือ (อย่างเป็นทางการ) เพียงประมาณ 10 คน เป็นวิศวกรหรือช่างเทคนิค (แต่คาดว่ายังมีเหยื่อชาวไทยที่ถูกสายลับเกาหลีเหนือลักพาตัวไปอยู่ที่นั่น และยังไม่ได้กลับออกมา อีกจำนวนหนึ่ง)

การค้าระหว่างไทยกับเกาหลีเหนือ ในปี 2555 มีมูลค่าการค้ารวม ประมาณ 62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับว่ามีน้อยเมื่อเทียบกับการค้าระหว่างไทยกับเกาหลีใต้ในปีเดียวกัน ที่มีมูลค่าการค้ารวม 13,758 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

การเดินทางและการติดต่อสื่อสาร

สายการบิน Air Koryo ของเกาหลีเหนือ เปิดบริการเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพ - เปียงยาง ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 แต่มีผู้โดยสารน้อยมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะทางการเกาหลีเหนือมักไม่อนุญาตให้ประชาชนของตนโดยทั่วไปเดินทางออกนอกประเทศโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (ไม่อนุญาตให้เดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ หรือลี้ภัยไปยังประเทศอื่น) ปัจจุบันจึงมีเที่ยวบินไปกลับกรุงเทพ - เปียงยาง ไม่เกินเดือนละหนึ่งเที่ยวเท่านั้น

อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากนักการเมืองและนักการทูตแล้ว ยังมีนักวิชาการไทยบางคนที่ทำงานหรือศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเกาหลีเหนือ ก็ได้ติดต่อสื่อสารกับบุคคลในเกาหลีเหนือ หรือเดินทางไปยังเกาหลีเหนือ อยู่เป็นระยะๆ

อินเทอร์เน็ตในเกาหลีเหนือนั้นมีการเซ็นเซอร์เป็นอันมาก และไม่ได้มีให้บริการโดยทั่วไป (โดยทั่วไปจะเป็นระบบอินทราเน็ต เข้าถึงได้เฉพาะระบบเครือข่ายข้อมูลภายในประเทศเท่านั้น ไม่มีการเชื่อมต่อออกไปยังเว็บไซต์ต่างประเทศ) มีประชาชนเกาหลีเหนือเพียงส่วนน้อย ไม่กี่คนเท่านั้น ที่ได้มีโอกาสใช้อินเทอร์เน็ตของจริง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูง ทั้งนี้ไม่รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และนักศึกษาชาวต่างชาติในเกาหลีเหนือ ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้งานได้ แตกต่างจากประเทศไทย ที่มีระบบอินเทอร์เน็ตให้ได้ใช้กันโดยทั่วไป และมีเสรีภาพในการใช้อินเทอร์เน็ตสูงกว่ามาก คาดว่าไม่มีการติดต่อสื่อสารหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทางอินเทอร์เน็ตเลย ระหว่างพลเรือนเกาหลีเหนือ (บุคคลธรรมดา ไม่ใช่บุคคลในตำแหน่งสูง) ที่ยังอยู่ในเกาหลีเหนือ กับบุคคลไทย


แหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ในบทความ

ประเทศเกาหลีเหนือ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD

ข้อมูลกลุ่มมิตรภาพรัฐสภา คณะกรรมการบริหารกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-เกาหลีเหนือ http://www.thai-senate.com/senate_inter/info_center/friendship_group_id.php?id_group=64

"ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับเกาหลีเหนือ" บทความจากเว็บไซต์ จับตาเอเชียตะวันออก EAST ASIA WATCH http://www.eastasiawatch.in.th/relationship.php?id=3&section=economic

"รายงาน "พลเมืองเหนือ": โสมแดงลักพาคนไทย เชื่อ! ไม่ใช่แค่อโนชา" บทความจากเว็บไซต์ประชาไท Sun, 2006-01-22 07:17 http://prachatai.com/journal/2006/01/7071

"ก.พาณิชย์ จับตาปัญหาในคาบสมุทรเกาหลี ชึ้ยังไม่น่าเป็นห่วง" ข่าวจากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ วันพุธที่ 03 เมษายน 2013 เวลา 08:10 น. เรียบเรียงโดย ชาญวิทย์ อินยันญะ http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=177256:2013-04-03-00-16-20&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524

บทความ "สัมพันธ์พิลึกไทย-เกาหลีเหนือ" ในคอลัมน์ โลกสาระจิปาถะ โดยกวี จงกิจถาวร จากเว็บไซต์คมชัดลึกออนไลน์ (หนังสือพิมพ์คมชัดลึก) วันที่ 9 เมษายน 2556
http://www.komchadluek.net/detail/20130409/155773/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD.html#.UWU8UdlW_ak

"เกาหลีเหนือ-จีน-พม่า ครองแชมป์เซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลก" บทความจากเว็บไซต์ Jakrapong.com http://jakrapong.com/2011/01/07/3-most-cencorship-country/

""เกาหลีเหนือ"อนุญาตชาวต่างชาติใช้อินเตอร์เน็ต" ข่าวจากหนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เวลา 14:30:00 น. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1362034262&grpid=03&catid=03

.
Public domain This work has been released into the public domain by its author,  nmd dot kim (not dot com, but dot kim). This applies worldwide.
In some countries this may not be legally possible; if so:  nmd dot kim (not dot com, but dot kim) grants anyone the right to use this work for any purpose, without any conditions, unless such conditions are required by law.
Kopimi k.svg This work is labeled as Kopimi, meaning that the copyright holder of this work specifically requests that this work be used and copied for any purpose, including unlimited commercial use and redistribution. It is believed in good faith that a work classified as Kopimi is free to use in any way, including modification and the creation of derivative works.

English | فارسی | français | മലയാളം | português | slovenščina | svenska | 中文(简体)‎ | +/−
.