This work has been released into the public domain by its author, nmd dot kim (not dot com, but dot kim). This applies worldwide. In some countries this may not be legally possible; if so: nmd dot kim (not dot com, but dot kim) grants anyone the right to use this work for any purpose, without any conditions, unless such conditions are required by law. |
แบบฝึกหัด
บทที่ 8 การใช้สารสนเทศตามกฎหมายและจริยธรรม
รายวิชา การจัดการสารสนเทศยุคใหม่ในชีวิตประจำวัน รหัสวิชา 0026008
กลุ่มเรียนที่ 1
ชื่อ-สกุล นายxxxx xxxxxx 540112xxxxx (2 xxx) ระบบ ปกติ
คำชี้แจง จงพิจารณากรณีศึกษานี้
ข้อ 1) "นาย A ทำการเขียนโปรแกรมขึ้นมาโปรแกรมหนึ่งเพื่อทดลองโจมตีการทำงานของคอมพิวเตอร์ สามารถใช้งานได้ โดยทำการระบุ IP-Address โปรแกรมนี้สร้างขึ้นเพื่อทดลองในงานวิจัย นาย B ที่เป็นเพื่อนสนิทของนาย A ได้นำโปรแกรมนี้ไปทดลองใช้แกล้งนางสาว C เมื่อนางสาว C ทราบเข้าก็เลยนำโปรแกรมนี้ไปใช้และส่งต่อให้เพื่อนๆ ที่รู้จักได้ทดลอง" การกระทำอย่างนี้เป็น ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย
ตอบ
1. นาย A สร้างโปรแกรมโจมตีขึ้นก็จริง แต่จากโจทย์ A สร้างขึ้นเพื่อการศึกษาวิจัยเท่านั้น (เช่น เป็นส่วนหนึ่งของการทำโปรเจคของนิสิตสาขา ICT หรือ CS เป็นต้น)
และ โจทย์ไม่ได้ระบุว่า A นำไปใช้โจมตีบุคคลอื่นจริงๆ
ดังนั้น A ยังไม่ได้กระทำผิดจริยธรรมหรือผิดกฎหมาย ในเรื่องนี้
แต่ การเผยแพร่ไฟล์ที่ไม่เหมาะสม หรือผิดกฎหมาย ให้บุคคลอื่น ในที่นี้คือ B คัดลอกโปรแกรมไปจาก A ซึ่ง A ย่อมไม่รู้ว่า แท้จริงแล้่ว B จะเอาโปรแกรมนั้นไปใช้ทำอะไรบ้าง นั้น หาก A เป็นผู้อนุญาตให้ B คัดลอกโปรแกรมนั้นไป (ไม่ใช่การที่ B แอบคัดลอกไปตอนที่ A เผลอ) ก็ถือว่า A กระทำผิดกฎหมายในเรื่องการแผยแพร่ฯ แต่ถ้าหากไม่มีเจ้าทุกข์ที่จะมาเอาผิดต่อ A (ไม่มีส่วนใดในโปรแกรมที่สามารถระบุได้ว่า A เป็นผู้สร้าง หรือมีส่วนเกี่ยวข้อง, ไม่มีการตรวจยึดอุปกรณ์เก็บข้อมูลของนาย A, นางสาว C และคนอื่นๆ ทั้งหมด ไม่มีใครทราบว่าโปรแกรมที่ใช้ก่อเหตุเป็นโปรแกรมของ A, นาย A ไม่รับสารภาพ และ B ไม่บอกใครว่าเป็นโปรแกรมของ A) นาย A ก็จะไม่ได้รับโทษใดๆ
2. นาย B ผิดจริยธรรม หรือผิดกฎหมาย เพราะนำโปรแกรมไปแกล้งนางสาว C
จากโจทย์ระบุว่า "ใช้แกล้ง C" แสดงว่าในขณะนั้น C ถูกกลั่นแกล้ง และไม่ได้เต็มใจให้ B ทดลองโปรแกรมนี้กับตนแต่อย่างใด แม้ B จะ "ทดลองใช้" ก็ตาม ดังนั้น B จึงผิดจริยธรรม
และ B จะผิดกฎหมายด้วย หาก C ดำเนินการฟ้องร้องเอาผิดต่อ B ถ้าหากการแกล้งของ B ก่อให้เกิดความเสียหายขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์หรือไฟล์งานของ C โดยตรง แต่การดำเนินการเอาผิดนั้นอาจจะเป็นการยุ่งยากเ้สียเวลา หรือไม่คุ้มค่า เนื่องจากการโจมตีระบบโดยโปรแกรมนี้อาจจะไม่ทำให้เสียหายมากนัก
นางสาว C อาจจะดำเนินการอย่างอื่นต่อ B แทน เช่น หาก B กับ C รู้จักกันแล้ว นางสาว C อาจใช้วิธีการใดๆ เพื่อบีบบังคับให้ B รับผิดชอบ หรือ C อาจตัดความสัมพันธ์กับ B เป็นต้น
(คาดว่า B กับ C รู้จักกันแล้ว เพราะ C ทราบว่าผู้แกล้งคือ B, ทราบว่า B ใช้โปรแกรมอะไรแกล้ง C , และ C ได้โปรแกรมนี้มา โจทย์ไม่ได้ระบุว่า A และ B เผยแพร่โปรแกรมนี้ออกไปยังที่อื่นแต่อย่างใด แสดงว่าต้องรู้จักกับ B หรือ A แล้ว C จึงรับโปรแกรมมาได้)
ทั้งนี้ จากโจทย์ไม่ได้ระบุว่า C ได้ดำเนินการอะไรต่อ B แต่อย่างใด
นาย B ไม่ได้ละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของ A เพราะการที่ B คัดลอกโปรแกรมของ A ไปใช้นั้น ไม่ได้นำออกเผยแพร่ แต่ B อาจผิดจริยธรรม ถ้าคัดลอกโปรแกรมไปจาก A โดยไม่ได้รับอนุญาตจาก A (ทั้งนี้ การที่โจทย์ระบุว่า B กับ A เป็นเพื่อนสนิทกัน อาจทำให้นิสิตผู้ตอบคำถามคิดว่า B ไม่ได้ละเมิดใดๆ ต่อ A)
3. นางสาว C อาจเข้าข่ายละเมิดลิขสิทธิ์ผลงานของ A (นำโปรแกรมนั้นไปก็อบปี้แจก หรือทำสำเนาไปใช้ต่อ ถือว่ามีความผิดฐาน ทำซ้ำและเผยแพร่)
แต่นาย A จะไม่ดำเนินการเอาผิด C ในทางกฎหมาย เนื่องจากโปรแกรมของ A นั้น เป็นโปรแกรมโจมตี เป็นไฟล์โปรแกรมที่ไม่เหมาะสม เป็นไฟล์โปรแกรมที่ผิดกฎหมาย เป็นไฟล์ข้อมูลที่สามารถนำไปสู่ความเสียหายต่อผู้อื่น หรือต่อความมั่นคงของประเทศชาติ มีความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์ ฉะนั้น หาก A ดำเนินการทางกฎหมายกับ C ก็เท่ากับว่า A ออกมายอมรับว่าโปรแกรมโจมตีนั้นเป็นผลงานของตน และตนเองอาจได้รับโทษตามกฎหมายด้วย
จากโจทย์ที่ว่า C นำไปใช้เองนั้น C ก็จะผิดจริยธรรม และอาจผิดกฎหมาย หากใช้งานในการโจมตีผู้อื่นในลักษณะเดียวกับที่ B กระทำกับ C หรือ C จะมีความผิดตามกฎหมายสูงขึ้นไปอีก หาก C นำไปใช้กระทำความเสียหายต่อระบบคอมพิวเตอร์หลักๆ ของประเทศ หรือของธุรกิจอื่น หรือหน่วยงานอื่น (โอกาสที่ฝ่ายผู้เสียหายจะดำเนินการเอาผิดก็มีสูงขึ้นไปอีก)
และ C มีความผิดตามกฎหมาย คือ C แจกจ่ายโปรแกรมโจมตี แจกจ่ายไฟล์โปรแกรมที่ไม่เหมาะสม แจกจ่ายไฟล์โปรแกรมที่ผิดกฎหมาย เป็นการเผยแพร่ไฟล์ข้อมูลที่สามารถนำไปสู่ความเสียหายต่อผู้อื่น หรือต่อความมั่นคงของประเทศชาติ มีความผิดตาม พ.ร.บ. คอมพิวเตอร์
ข้อ 2) "นาย J ได้ทำการสร้างโฮมเพจ เพื่อบอกว่าโลกแบน โดยมีหลักฐานอ้างอิงจากตำราต่างๆ อีกทั้งรูปประกอบ เป็นการทำเพื่อสร้างความสนุกสนาน ไม่ได้ใช้ในการอ้างอิงวิชาการใดๆ เด็กชาย K เป็นนักเรียนในระดับประถมปลายที่ทำรายงานส่งครูเป็นการบ้านภาคฤดูร้อนโดยใช้ข้อมูลจากโฮมเพจของนาย J" การกระทำอย่างนี้เป็น ผิดจริยธรรม หรือผิดกฏหมายใดๆ หรือไม่ หากไม่ผิดเพราะเหตุใด และหากผิด ผิดในแง่ไหน จงอธิบาย
ตอบ
1. นาย J สร้างข้อมูลที่ไม่ถูกต้องลงในอินเทอร์เน็ต คือโลกแบน แต่ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับรูปแบบและเนื้อหาในการนำเสนอ หากนำเสนอในเชิงทฤษฎี หรือเชิงประวัติศาสตร์ เช่น นำเสนอข้อมูล เป็นแนวคิดหรือหลักการของบุคคล หรือสังคม หรือบางลัทธิ ในอดีต ที่กล่าวว่าโลกแบน เป็นต้น ไม่ได้สื่อข้อมูลเท็จชัดเจนว่าโลกแบนจริงๆ แต่อย่างใด อย่างนี้ก็ไม่น่าจะผิด
สำหรับการที่มีหลักฐานอ้างอิง หากอ้างอิงจากตำราที่มีอยู่จริง ข้อมูลในเล่มที่เชื่อถือได้ และตำรานั้นกล่าวไว้เช่นนั้นจริง ก็ไม่ผิดอีกเช่นกัน
แต่จากโจทย์ มีผู้ที่เชื่อถือข้อมูลในเว็บของ J ว่าโลกแบน แสดงว่านาย J ต้องการจะสื่อข้อมูลเท็จให้ดูเสมือนว่าเป็นจริง คือ สื่อชัดว่าโลกแบนจริงๆ ไม่ได้บรรยายว่าเป็นแนวคิดหรือทฤษฎีของใคร(ในสมัยก่อน)แต่อย่างใด
นาย J จึงผิดจริยธรรม เนื่องจากทำข้อมูลเท็จ พิมพ์ข้อมูลที่ไม่เป็นความจริง นำออกเผยแพร่ ทำให้ผู้อื่นที่ไม่ีมีความรู้ทั่วไป ที่ว่า "โลกกลม" หลงเชื่อ หรือเกิดความสับสน อีกทั้งยังอ้างตำราข้อมูลต่างๆ เพื่อให้ดูน่าเชื่อถือ (ซึ่งตำราอาจจะไม่มีจริง หรือในตำราอาจจะไม่ได้เขียนว่าอย่างนั้นจริง) ก็ยิ่งเป็นการหลอกลวงมากขึ้นไปอีก
แต่ J ไม่ได้ทำผิดกฎหมาย เนื่องจากข้อมูลนั้นไม่ได้เป็นการหมิ่นประมาทหรือด่าทอบุคคลใด และข้อมูลนั้นไม่ได้ส่งผลเสียต่อการเมืองการปกครอง หรือเศรษฐกิจของประเทศแต่ประการใด เขาแค่จะสื่อว่าโลกแบนเท่านั้น
ทั้งนี้ ในปัจจุบันเป็นที่รับรู้กันโดยทั่วไปแล้วว่าแท้จริงนั้น "โลกกลม" หรือโลกไม่ได้แบนแต่อย่างใด ฉะนั้น หาก J สื่อข้อมูลเท็จชัดเจนว่าโลกแบน บุคคลที่มีวิจารณญาณดีก็ย่อมไม่เชื่อข้อมูลของนาย J หรืออย่างน้อยก็ต้องสงสัยในเนื้อหาของ J แล้วไปค้นหาดูในเสิร์ชเอนจิน เช่น กูเกิล เป็นต้น ก็จะพบว่า "โลกกลม" หรือพบว่าเนื้อหาของ J นั้นไม่ถูกต้อง
2. เด็กชาย K ไม่ผิดกฎหมาย แต่อาจจะขาดความรู้ทั่วไป ที่ว่า "โลกกลม" จึงไม่เกิดความสงสัยในเนื้อหาของ J
หรือ K ไม่ได้สืบค้นข้อมูลจากหลายแหล่งข้อมูล หรือหลายๆ เว็บไซต์
เด็กชาย K จึงได้อ่านแต่ข้อมูลเท็จของ J และนำข้อมูลเท็จที่ J ทำขึ้นไปใช้ในรายงาน
ถ้ารายงานของ K นั้นเผยแพร่ไปยังที่อื่นๆ ด้วย ไม่ใช่ว่าแค่ทำส่งครูแล้วก็จบอยู่แค่นั้น K ก็จะผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับนาย J แต่ทำผิดไปโดยไม่ได้เจตนา แต่จากโจทย์ K เพียงแต่ทำส่งครูเท่านั้น ไม่ได้นำรายงานนี้ไปเผยแพร่ที่อื่น (เช่น นำรายงานนี้ไปให้เพื่อนลอก เป็นต้น) แต่อย่างใด K จึงไม่ผิดจริยธรรม เพราะครูผู้สั่งงานย่อมทราบดีว่า "โลกกลม" โลกไม่ได้แบน ฉะนั้นรายงานนี้ K ทำมาไม่ถูกต้อง และครูก็จะไม่นำเนื้อหาที่เป็นเท็จของ K นี้ไปเผยแพร่ต่อ (เช่น ครูจะไม่นำเล่มรายงานนี้ไปเข้าชั้นหนังสือ ให้นักเรียนคนอื่นได้หยิบอ่าน, ครูจะไม่เก็บเล่มรายงานนี้ไว้ให้นักเรียนรุ่นต่อๆไปได้ดูเป็นตัวอย่างการทำงานส่ง แม้ว่ารูปเล่มของ K นั้นทำมาดี และมีเนื้อหาหลายหน้ากระดาษ)
อย่างไรก็ตาม เด็กชาย K อาจถูกครูตำหนิ ตัดคะแนน หรือลงโทษ เช่นตำหนิว่าข้อมูลเรื่องโลกแบนนั้นไม่จริง ไม่ถูกต้อง แล้วให้คะแนนรายงานได้ศูนย์คะแนน หรือสั่งให้ไปทำใหม่ เป็นต้น เนื่องจากเนื้อหาในรายงานไม่ถูกต้อง ดังที่ได้กล่าวไปแล้ว
.
This work has been released into the public domain by its author, nmd dot kim (not dot com, but dot kim). This applies worldwide. In some countries this may not be legally possible; if so: nmd dot kim (not dot com, but dot kim) grants anyone the right to use this work for any purpose, without any conditions, unless such conditions are required by law. |
No comments:
Post a Comment
Note: Only a member of this blog may post a comment.