10 April 2013

ความสัมพันธ์ระหว่างไทย - เอริเทรีย

Public domain This work has been released into the public domain by its author,  nmd dot kim (not dot com, but dot kim). This applies worldwide.
In some countries this may not be legally possible; if so:  nmd dot kim (not dot com, but dot kim) grants anyone the right to use this work for any purpose, without any conditions, unless such conditions are required by law.
Kopimi k.svg This work is labeled as Kopimi, meaning that the copyright holder of this work specifically requests that this work be used and copied for any purpose, including unlimited commercial use and redistribution. It is believed in good faith that a work classified as Kopimi is free to use in any way, including modification and the creation of derivative works.

English | فارسی | français | മലയാളം | português | slovenščina | svenska | 中文(简体)‎ | +/−
.
.
 .
.
.
.
.

ธงชาติเอริเทรีย

Flag of Eritrea.svg




 ความสัมพันธ์ด้านการทูต

ประเทศเอริเทรีย (Eritrea) (ในบางสื่ออาจสะกดเป็น เอริเตรีย) ได้ประกาศแยกตัวเป็นเอกราชจากเอธิโอเปียอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2536 ในปีเดียวกันประเทศไทยได้ร่วมให้การรับรองเอกราชของเอริเทรีย และร่วมสนับสนุนในการรับเอริเทรียเข้าเป็นสมาชิกขององค์การสหประชาชาติ

ไทยและเอริเทรียสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2536 ปัจจุบันยังไม่มีสถานทูตไทยในเอริเทรีย และยังไม่มีสถานทูตเอริเทรียในไทย ทั้งนี้ สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงไนโรบี ประเทศเคนยา มีเขตอาณาครอบคลุมเอริเทรีย และสถานเอกอัครราชทูตรัฐเอริเทรีย ณ กรุงนิวเดลี มีเขตอาณาครอบคลุมประเทศไทย

ความสัมพันธ์ด้านเศรษฐกิจ

ปัจจุบันปริมาณการค้าระหว่างไทย-เอริเทรียมีมูลค่าน้อย การค้าระหว่างไทยกับเอริเทรีย ในปี 2555 มีมูลค่าการค้ารวม 12.37 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยไทยเป็นฝ่ายส่งสินค้าขายเอริเทรียเกือบทั้งหมด คือ 12.34 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ทั้งนี้เป็นการส่งออกน้ำตาลทรายเกือบทั้งหมด คือ 12.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ (ธันวาคม 2554) เห็นว่า ทั้งไทยและเอริเทรียยังสามารถกระชับและขยายความร่วมมือระหว่างกันได้อีกมาก ทั้งด้านการค้า การลงทุน การประมง และความร่วมมือเพื่อการพัฒนา

การเดินทางและการติดต่อสื่อสาร

ประเทศเอริเทรียมีลักษณะค่อนข้างปิดตัวเองจากโลกภายนอก ในการเดินทางเข้าเอริเทรียต้องขอวีซ่า ซึ่งมักจะล่าช้า หากเป็นวีซ่าประเภทนักท่องเที่ยว มีผู้กล่าวว่าอาจต้องรอนานเกินหนึ่งสัปดาห์ และเมื่อครบกำหนดรอก็อาจไม่ผ่านการอนุมัติอีกด้วย หลังจากโดยสารเครื่องบินเข้ามายังเมืองแอสมารา (Asmara) เมืองหลวงของเอริเทรียแล้ว หากจะเดินทางออกนอกแอสมาราไปไกลกว่า 5 กิโลเมตร ก็ต้องขอรับใบอนุญาตอีก (พ.ศ. 2554)

ส่วนประชาชนชาวเอริเทรีย หากจะออกนอกประเทศ ก็ต้องขอวีซ่าขาออก (exit visa) ทุกครั้ง ก่อนที่จะขอวีซ่าขาเข้าประเทศปลายทาง

ตู้โทรศัพท์สาธารณะยังเป็นสิ่งที่จำเป็นในเอริเทรีย (พ.ศ. 2554) เนื่องจากซิมการ์ดโทรศัพท์มือถือยังไม่เป็นที่แพร่หลาย

สำหรับอินเทอร์เน็ตนั้นมีไม่แพร่หลายเท่ากับในประเทศไทย อินเทอร์เน็ตยังช้าและมีราคาแพง หากต้องการใช้อินเทอร์เน็ตแบบจานดาวเทียมก็ต้องทำเรื่องขออนุญาตกับหลายหน่วยงานอีกด้วย คาดว่ามีการติดต่อกันระหว่างบุคคลไทยกับบุคคลในเอริเทรียทางอินเทอร์เน็ตน้อยมาก

ปัจจุบันมีคนไทยทำงานในเอริเทรียอยู่น้อยมาก จากบทความของชาวไทยที่เล่าถึงการเดินทางหรือการทำงานในเอริเทรีย คาดว่ามีคนไทยทำงานอยู่ในเอริเทรียไม่เกิน 10 คน


แหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ในบทความ

บทความ "รัฐเอริเทรีย" จากเว็บไซต์ของกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ วันที่ 23 มีนาคม 2553 http://www.thaiafrica.net/th/about-africa/country/detail.php?ID=670

บทความ "ประเทศเอริเทรีย" จากเว็บไซต์ของ ICSC : International Cooperation Study Center http://www.apecthai.org/apec/th/profile1.php?continentid=6&country=er

ข่าวภารกิจสำคัญด้านการต่างประเทศ "ไทยพร้อมกระชับความร่วมมือกับเอริเทรีย" จากเว็บไซต์ของกรมเอเชียใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกา กระทรวงการต่างประเทศ 08/12/2011 http://sameaf.mfa.go.th/th/news/detail.php?ID=2694&SECTION=CALENDAR

บทความ "เอริเทรีย (Eritrea) : สังคมนิยมจ๋าในแอฟริกายุค Facebook" เขียนโดยคุณ Thaisoloclub 19 ตุลาคม 2554 15:04:53 น. http://www.bloggang.com/viewdiary.php?id=hotfeet&month=05-2011&date=07&group=3&gblog=18

บทความ "Eritrea ประเทศใหม่ ที่กำลังจะหายไป" (ตั้งกระทู้ในเว็บไซต์พันทิพดอตคอม) เขียนโดยคุณ letsgokrabi - [ 3 ก.ค. 2550 22:23:58 ] http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/07/K5573513/K5573513.html

บทความ "Eritrea ภาคสอง" (ตั้งกระทู้ในเว็บไซต์พันทิพดอตคอม) เขียนโดยคุณ letsgokrabi - [ 12 ส.ค. 2550 23:46:02 ] http://topicstock.pantip.com/library/topicstock/2007/08/K5707676/K5707676.html

.
Public domain This work has been released into the public domain by its author,  nmd dot kim (not dot com, but dot kim). This applies worldwide.
In some countries this may not be legally possible; if so:  nmd dot kim (not dot com, but dot kim) grants anyone the right to use this work for any purpose, without any conditions, unless such conditions are required by law.
Kopimi k.svg This work is labeled as Kopimi, meaning that the copyright holder of this work specifically requests that this work be used and copied for any purpose, including unlimited commercial use and redistribution. It is believed in good faith that a work classified as Kopimi is free to use in any way, including modification and the creation of derivative works.

English | فارسی | français | മലയാളം | português | slovenščina | svenska | 中文(简体)‎ | +/−
.

No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.