10 April 2013

ความสัมพันธ์ระหว่างไทย - เกาหลีเหนือ

Public domain This work has been released into the public domain by its author,  nmd dot kim (not dot com, but dot kim). This applies worldwide.
In some countries this may not be legally possible; if so:  nmd dot kim (not dot com, but dot kim) grants anyone the right to use this work for any purpose, without any conditions, unless such conditions are required by law.
Kopimi k.svg This work is labeled as Kopimi, meaning that the copyright holder of this work specifically requests that this work be used and copied for any purpose, including unlimited commercial use and redistribution. It is believed in good faith that a work classified as Kopimi is free to use in any way, including modification and the creation of derivative works.

English | فارسی | français | മലയാളം | português | slovenščina | svenska | 中文(简体)‎ | +/−
.
.
.
.
.
.
 
ธงชาติเกาหลีเหนือ

ธงชาติเกาหลีเหนือ

ความสัมพันธ์ทางการเมืองและทางการทูต

ความสัมพันธ์ไทย-เกาหลีเหนือ เริ่มมีขึ้นอย่างไม่เป็นทางการในปี พ.ศ. 2515 โดยเป็นการติดต่อค้าขาย และการกีฬา ต่อมาได้สถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตระหว่างกันอย่างเป็นทางการ ในวันที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2518 นับตั้งแต่นั้นมา ทั้ง 2 ประเทศก็ได้มีการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกันอย่างสม่ำเสมอ

ปัจจุบันในรัฐสภาไทยมีกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-เกาหลีเหนือ เช่นเดียวกับ "กลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภา" ที่มีชื่อคู่ระหว่างไทยกับชาติอื่นๆ (เช่น กลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-มาเลเซีย เป็นต้น) ซึ่งแสดงถึงการมีความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลเกาหลีเหนือ เช่นเดียวกันกับระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลของประเทศอื่นๆ

เกาหลีเหนือมีสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย ที่กรุงเทพมหานคร แต่ทางการไทยยังไม่ได้เปิดสถานทูตไทย ณ กรุงเปียงยางแต่อย่างใด และให้สถานเอกอัครราชทูตไทยในกรุงปักกิ่ง สาธารณรัฐประชาชนจีน มีเขตอาณาครอบคลุมเกาหลีเหนือ (ทำหน้าที่ที่เกี่ยวข้องกับเกาหลีเหนือ)

ปัจจุบันความสัมพันธ์ระหว่างไทยและเกาหลีเหนือยังมีปัญหาอยู่บางประการ ที่เคยเป็นข่าวใหญ่ได้แก่ ปัญหาคนไทยที่ถูกสายลับของเกาหลีเหนือลักพาตัวไปยังเกาหลีเหนือ เช่นในกรณีของ อโนชา ปันจ้อย เป็นต้น

ความร่วมมือด้านการค้าและการลงทุน

การลงทุนของธุรกิจไทยในเกาหลีเหนือมีอยู่ไม่มากนัก ส่วนธุรกิจของเกาหลีเหนือนั้นเกือบทั้งหมดเป็นของรัฐบาล และไม่ได้ลงทุนในประเทศไทยอย่างเป็นทางการ หรือมีสาขาในประเทศไทยแต่อย่างใด

ในปี 2539 บริษัท ล็อกซเลย์ จำกัด มหาชน (Loxley) เคยลงทุนกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ในเกาหลีเหนือ โดยร่วมลงทุนกับบริษัทของฟินแลนด์ ต่อมาถูกเกาหลีเหนือระงับสัมปทาน เมื่อเดือนพฤษภาคม 2547 และไม่มีแนวโน้มที่จะได้สัมปทานใหม่ต่อ ล็อกซเลย์จึงเปลี่ยนไปดำเนินธุรกิจอื่นแทน เช่นธุรกิจนำเข้าและส่งออกสินค้า ระหว่างไทยกับเกาหลีเหนือ เป็นต้น

ปัจจุบันมีคนไทยทำงานในเกาหลีเหนือ (อย่างเป็นทางการ) เพียงประมาณ 10 คน เป็นวิศวกรหรือช่างเทคนิค (แต่คาดว่ายังมีเหยื่อชาวไทยที่ถูกสายลับเกาหลีเหนือลักพาตัวไปอยู่ที่นั่น และยังไม่ได้กลับออกมา อีกจำนวนหนึ่ง)

การค้าระหว่างไทยกับเกาหลีเหนือ ในปี 2555 มีมูลค่าการค้ารวม ประมาณ 62 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ซึ่งนับว่ามีน้อยเมื่อเทียบกับการค้าระหว่างไทยกับเกาหลีใต้ในปีเดียวกัน ที่มีมูลค่าการค้ารวม 13,758 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

การเดินทางและการติดต่อสื่อสาร

สายการบิน Air Koryo ของเกาหลีเหนือ เปิดบริการเที่ยวบินระหว่างกรุงเทพ - เปียงยาง ตั้งแต่ พ.ศ. 2536 แต่มีผู้โดยสารน้อยมาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะทางการเกาหลีเหนือมักไม่อนุญาตให้ประชาชนของตนโดยทั่วไปเดินทางออกนอกประเทศโดยไม่มีเหตุผลอันสมควร (ไม่อนุญาตให้เดินทางท่องเที่ยวต่างประเทศ หรือลี้ภัยไปยังประเทศอื่น) ปัจจุบันจึงมีเที่ยวบินไปกลับกรุงเทพ - เปียงยาง ไม่เกินเดือนละหนึ่งเที่ยวเท่านั้น

อย่างไรก็ดี นอกเหนือจากนักการเมืองและนักการทูตแล้ว ยังมีนักวิชาการไทยบางคนที่ทำงานหรือศึกษาเกี่ยวกับเรื่องเกาหลีเหนือ ก็ได้ติดต่อสื่อสารกับบุคคลในเกาหลีเหนือ หรือเดินทางไปยังเกาหลีเหนือ อยู่เป็นระยะๆ

อินเทอร์เน็ตในเกาหลีเหนือนั้นมีการเซ็นเซอร์เป็นอันมาก และไม่ได้มีให้บริการโดยทั่วไป (โดยทั่วไปจะเป็นระบบอินทราเน็ต เข้าถึงได้เฉพาะระบบเครือข่ายข้อมูลภายในประเทศเท่านั้น ไม่มีการเชื่อมต่อออกไปยังเว็บไซต์ต่างประเทศ) มีประชาชนเกาหลีเหนือเพียงส่วนน้อย ไม่กี่คนเท่านั้น ที่ได้มีโอกาสใช้อินเทอร์เน็ตของจริง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่ทหารระดับสูง ทั้งนี้ไม่รวมถึงนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ และนักศึกษาชาวต่างชาติในเกาหลีเหนือ ซึ่งได้รับอนุญาตให้ใช้งานได้ แตกต่างจากประเทศไทย ที่มีระบบอินเทอร์เน็ตให้ได้ใช้กันโดยทั่วไป และมีเสรีภาพในการใช้อินเทอร์เน็ตสูงกว่ามาก คาดว่าไม่มีการติดต่อสื่อสารหรือแลกเปลี่ยนข้อมูลกันทางอินเทอร์เน็ตเลย ระหว่างพลเรือนเกาหลีเหนือ (บุคคลธรรมดา ไม่ใช่บุคคลในตำแหน่งสูง) ที่ยังอยู่ในเกาหลีเหนือ กับบุคคลไทย


แหล่งที่มาของข้อมูลที่ใช้ในบทความ

ประเทศเกาหลีเหนือ จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD

ข้อมูลกลุ่มมิตรภาพรัฐสภา คณะกรรมการบริหารกลุ่มมิตรภาพสมาชิกรัฐสภาไทย-เกาหลีเหนือ http://www.thai-senate.com/senate_inter/info_center/friendship_group_id.php?id_group=64

"ความสัมพันธ์ทวิภาคีระหว่างไทยกับเกาหลีเหนือ" บทความจากเว็บไซต์ จับตาเอเชียตะวันออก EAST ASIA WATCH http://www.eastasiawatch.in.th/relationship.php?id=3&section=economic

"รายงาน "พลเมืองเหนือ": โสมแดงลักพาคนไทย เชื่อ! ไม่ใช่แค่อโนชา" บทความจากเว็บไซต์ประชาไท Sun, 2006-01-22 07:17 http://prachatai.com/journal/2006/01/7071

"ก.พาณิชย์ จับตาปัญหาในคาบสมุทรเกาหลี ชึ้ยังไม่น่าเป็นห่วง" ข่าวจากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ วันพุธที่ 03 เมษายน 2013 เวลา 08:10 น. เรียบเรียงโดย ชาญวิทย์ อินยันญะ http://www.thanonline.com/index.php?option=com_content&view=article&id=177256:2013-04-03-00-16-20&catid=176:2009-06-25-09-26-02&Itemid=524

บทความ "สัมพันธ์พิลึกไทย-เกาหลีเหนือ" ในคอลัมน์ โลกสาระจิปาถะ โดยกวี จงกิจถาวร จากเว็บไซต์คมชัดลึกออนไลน์ (หนังสือพิมพ์คมชัดลึก) วันที่ 9 เมษายน 2556
http://www.komchadluek.net/detail/20130409/155773/%E0%B8%AA%E0%B8%B1%E0%B8%A1%E0%B8%9E%E0%B8%B1%E0%B8%99%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A5%E0%B8%B6%E0%B8%81%E0%B9%84%E0%B8%97%E0%B8%A2%E0%B9%80%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B5%E0%B9%80%E0%B8%AB%E0%B8%99%E0%B8%B7%E0%B8%AD.html#.UWU8UdlW_ak

"เกาหลีเหนือ-จีน-พม่า ครองแชมป์เซ็นเซอร์อินเทอร์เน็ตมากที่สุดในโลก" บทความจากเว็บไซต์ Jakrapong.com http://jakrapong.com/2011/01/07/3-most-cencorship-country/

""เกาหลีเหนือ"อนุญาตชาวต่างชาติใช้อินเตอร์เน็ต" ข่าวจากหนังสือพิมพ์มติชน วันที่ 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556 เวลา 14:30:00 น. http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1362034262&grpid=03&catid=03

.
Public domain This work has been released into the public domain by its author,  nmd dot kim (not dot com, but dot kim). This applies worldwide.
In some countries this may not be legally possible; if so:  nmd dot kim (not dot com, but dot kim) grants anyone the right to use this work for any purpose, without any conditions, unless such conditions are required by law.
Kopimi k.svg This work is labeled as Kopimi, meaning that the copyright holder of this work specifically requests that this work be used and copied for any purpose, including unlimited commercial use and redistribution. It is believed in good faith that a work classified as Kopimi is free to use in any way, including modification and the creation of derivative works.

English | فارسی | français | മലയാളം | português | slovenščina | svenska | 中文(简体)‎ | +/−
.

No comments:

Post a Comment

Note: Only a member of this blog may post a comment.